Startup: Definition, Importance, and Research Guidelines

Main Article Content

Chaiwat Baimai

Abstract

Nowadays, the term “startup” has gained prominence as an engine of economic growth amid the ongoing global economic slowdown.  However, there is no academic consensus of the actual meanings of startup, and the extent of its coverage boundary.  Thus, the objective of this article is to present the idea related to “startup” in order to equip students and entrepreneurs with a better understanding of this issue.  A review of literatures shows that “startup” is a subset of “entrepreneurship,” and the important issue of “startup” is innovation-related inventions in various aspects. Furthermore, innovation transferred through entrepreneurs positively leads to an increase in the rate of economic growth in the long run.  “Startup” can be established by an individual,              a group of entrepreneurs, or a spin-off from different types of firms.  Based on the resource and capability framework, these various aspects of “startup” lead to the research question: “How do capabilities of resource allocation management affect the survival and the economic growth of different types of startup?”  This idea needs to be further developed and empirically examined in the future.


 


บทคัดย่อ


ปัจจุบันมีการกล่าวถึงคำว่า “สตาร์ทอัพ (startup)” อย่างกว้างขวาง ในฐานะปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังอยู่ในช่วงชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการให้นิยามในเชิงวิชาการที่ชัดเจนเกี่ยวกับคำจำกัดความและมิติของความหมายของ startup ที่แท้จริง ดังนั้น วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือการนำเสนอแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ startup เพื่อช่วยให้นักศึกษารวมถึงผู้ประกอบการเข้าใจความหมายและความสำคัญของ startup อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า startup เป็นลักษณะของ “การเป็นผู้ประกอบการ” รูปแบบหนึ่ง และประเด็นสำคัญของธุรกิจประเภทนี้ คือ การคิดค้นนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้น นวัตกรรมที่ส่งผ่านผู้ประกอบการส่งผลเชิงบวกต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย โดย startup อาจก่อตั้งจากบุคคล กลุ่มผู้ประกอบการหรือการขยายตัวของบริษัทในหลากหลายประเภท และรูปแบบของการเกิดขึ้นที่แตกต่างกันนี้นำไปสู่โจทย์วิจัยบนพื้นฐานของกรอบแนวคิดเรื่อง ฐานทรัพยากรและความสามารถขององค์กร เพื่อค้นหาระดับของความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรที่ส่งผลต่อการอยู่รอดและการเติบโตของ startup รูปแบบต่างๆ แนวคิดดังกล่าวต้องการการพัฒนาและพิสูจน์ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ต่อไปในอนาคต

Article Details

How to Cite
Baimai, C. (2017). Startup: Definition, Importance, and Research Guidelines. Executive Journal, 37(2), 10–21. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/105575
Section
Academic Articles