Merchandise Loss Prevention: The Retail Profitability Guide

Main Article Content

จิรารัตน์ จันทวัชรากร

Abstract

The success of a retail business arises not only from excess revenues generated from sales of goods and services, but also from cost and expense control. The main issue to concern is the “loss of goods in retail business” resulting from the following factors: shoplifting, theft conducted by internal staff; vendor or supplier collusion; and in-store errors. In this case, the most prevalent factors of such a loss are shoplifting, personnel fraud, and internal management errors. Furthermore, the factors leading to loss of in-store goods include, 1) theft conducted by external parties (customers, employees, vendors) and employees; 2) shoplifting; 3) punishment rules & regulations, and prompt and consistent action. The widely-used theft-prevention approaches are: 1) shop planning (store design, layout, and product display); 2) using honest staff (security guard, auditors) to supervise loss control and in-store theft; 3) using electronic equipments (mirror, closed-circuit TV); and 4) action and operational procedure for loss prevention. In this case, when loss and costs of retail business go down, its profits will increase.

 

การป้องกันสินค้าสูญหาย: หนทางสู่กำไรของธุรกิจค้าปลีก

ความสำเร็จของธุรกิจค้าปลีกต่างๆ ไม่ได้สำคัญอยู่เพียงแค่การหารายได้จากการขายสินค้าและหรือบริการให้ได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เท่านั้น หากธุรกิจไม่สามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกว่ารายได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ นำไปสู่ความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจ ประเด็นหลักที่พึงระวังคือ “การสูญหายของสินค้าในธุรกิจค้าปลีก” ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 4 ประเด็น คือ 1) เกิดจากการขโมยสินค้าโดยบุคคลภายนอกร้านค้า 2) เกิดจากการขโมยสินค้าโดยบุคคลภายในร้านค้า 3) เกิดจากผู้ขายหรือคู่ค้า และ 4) ความผิดพลาดต่างๆ ภายในร้านค้า ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอัตราการสูญหายมากที่สุดมาจากการขโมยสินค้าโดยลูกค้าและการทุจริตของบุคลากรภายในร้านค้า รวมถึงข้อผิดพลาดจากการบริหารจัดการภายใน ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสูญหายของสินค้าในร้านค้าปลีกประกอบด้วย 1) ความต้องการสินค้าของบุคคลภายนอกร้านค้า ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน และพนักงานส่งสินค้า เป็นต้น ตลอดจนความต้องการสินค้าของพนักงานภายในร้านค้า ซึ่งนำสินค้าออกไปจากร้านค้าโดยไม่มีการจ่ายชำระค่าสินค้า หรือการขโมยสินค้านั่นเอง 2) โอกาสสำหรับผู้ที่คิดจะกระทำการทุจริตโดยการขโมยสินค้าภายในร้านค้าปลีก 3) มาตรการในการลงโทษผู้กระทำการทุจริตสินค้า และความสม่ำเสมอในการใช้มาตรการในการป้องกันการสูญหายของสินค้าสำหรับร้านค้าปลีกซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างกว้างขวาง อาจแบ่งออกได้เป็น 4 วิธี คือ 1) การวางแผนร้านค้า ซึ่งประกอบด้วย การออกแบบร้านค้า การจัดผังร้านค้า และการจัดเรียงสินค้า 2) การใช้พนักงานหรือบุคลากรที่ดีในการกำกับดูแลและจับกุมผู้ที่ขโมยสินค้า ได้แก่ พนักงานรักษาความปลอดภัย ผู้ตรวจสอบภายใน 3) การใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยในการป้องกันการสูญหายของสินค้าได้มากขึ้น ได้แก่ การติดตั้งกระจกภายในร้านค้าปลีก การติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด โดยอุปกรณ์ต่างๆ จะมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันก่อนที่จะเกิดการสูญหายของสินค้าหรือการเสียหายของทรัพย์สินสำหรับธุรกิจค้าปลีกเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยป้องกันความเสียหายและค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือความคาดหมายลงได้ และ 4) มาตรการและแนวทางการปฏิบัติงาน เมื่อความสูญเสียและค่าใช้จ่ายของธุรกิจค้าปลีกลดลง กำไรก็จะเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้

Article Details

How to Cite
จันทวัชรากร จ. (2013). Merchandise Loss Prevention: The Retail Profitability Guide. Executive Journal, 33(1), 55–64. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/80698
Section
Academic Articles