The Recognition of Marital Status of Diverse Sexual Identity Persons

Main Article Content

ธัญลักษณ์ นามจักร

Abstract

Adhering to applying Physiology and Anatomy as a rule to define human’s body is the reason why Thai laws recognize only two gender identities, which are male and female. A person is recognized to be a man or a woman by his or her inborn sex and will always be recognized as such throughout their life which lead to legally marital status under Thai law that is limited only the marriage between one man as a husband and one woman as a wife.

Nowadays, it is acceptable that there is a diversity of sexual orientation in our society; however, this group of people is not allowed to marry their same-sex couples lawfully under Thai marriage law. As a result, they have to lose many marital rights which are allowed for different-sex couples. This situation has raised a point to consider, whether Thai marriage law which refuse the recognition of same-sex marital status seems to be against the fundamental provision regarding to the protection of freedoms and equality of human without distinction of sex as set forth in Universal Declaration of Human Rights and Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E.2550. Therefore, in order to eliminate people’s problem of living in their own sexual orientation, this may be the appropriate time for Thai marriage law to consider about legal marriage without distinction of sex.

 

การรับรองสถานภาพการสมรส ของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

การยึดเอามุมมองทางสรีรศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์เป็นหลักในการตีความร่างกายมนุษย์ ทำให้กฎหมายไทยรับรอง เพศของบุคคลว่ามีเฉพาะเพศชายและเพศหญิง โดยถือตามเพศที่กำเนิดมาและจะเป็นเช่นนั้นไปตลอดชีวิต ส่งผลให้สถานภาพ การสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายไทยหมายถึงเฉพาะการสมรสระหว่างชายโดยกำเนิดหนึ่งคนในฐานะที่เป็นสามีและหญิงโดยกำเนิด หนึ่งคนในฐานะที่เป็นภริยาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าในสังคมประกอบด้วยบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศหรือ เพศวิถีที่หลากหลาย แต่กฎหมายไม่รับรองให้ทำการจดทะเบียนสมรสของกลุ่มบุคคลที่มีเพศเดียวกัน เป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้ ต้องเสียสิทธิตามกฎหมายหลายประการที่กำหนดไว้สำหรับคู่สมรสต่างเพศ จึงมีประเด็นให้พิจารณาตามมาว่า การที่กฎหมาย ไม่รับรองสถานภาพการสมรสของบุคคลเหล่านี้จะขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลโดยไม่มี การเลือกปฏิบัติเพราะความแตกต่างเรื่องเพศ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ ดังนั้น จึงอาจถึงเวลาแล้วที่กฎหมายไทยจะพิจารณาถึงความต้องการของคนไทยที่จะจดทะเบียน สมรสอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางเพศ เพื่อขจัดอุปสรรคและปัญหาต่อการดำรงชีวิตตาม เพศวิถีของบุคคลให้หมดไป

Article Details

How to Cite
นามจักร ธ. (2013). The Recognition of Marital Status of Diverse Sexual Identity Persons. Executive Journal, 33(2), 10–16. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/80754
Section
Academic Articles