การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารพื้นบ้านอีสาน

Main Article Content

จารุสิทธิ์ เครือจันทร์

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และองค์ ประกอบต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับบรรจุภัณฑ์อาหารพื้นบ้านอีสาน 2) เพื่อทดลองและ พัฒนารูปแบบ วัสดุ กระบวนการผลิต ที่เกี่ยวเนื่องกับบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหาร พื้นบ้านอีสาน 3) เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารพื้นบ้านอีสานที่เหมาะสมเข้าสู่ตลาด การค้าในท้องถิ่นโดยศึกษากรณีอาหารพื้นบ้านอีสาน

กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านอีสาน ริมถนนมิตรภาพ เขต อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น โดยการสุ่มเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3 ร้าน การพัฒนา บรรจุภัณฑ์อาหารพื้นบ้านอีสานด้วยวิธีการแปรรูปวัสดุจากพืชธรรมชาติ โดยการ สุ่มเลือกพืชธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นอีสาน เช่น ข่า ตะไคร้หอม เตยหอม กล้วยนํ้าว้า สับปะรด และตะไคร้แกง มาทดลองแปรรูปเป็นวัสดุเพื่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหาร พื้นบ้านอีสาน โดยมีกรอบแนวคิดด้านวัสดุ การผลิต 4 ประการ คือ ใช้วัสดุธรรมชาติ มีความแข็งแรง ต้นทุนตํ่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ผลจากการทดลองแปรรูป พบว่า วัสดุที่ได้จากพืชธรรมชาติ สามารถนำ มาพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นใน ซึ่งนอกจากจะเป็นบรรจุภัณฑ์รองรับผลิตภัณฑ์ อาหารพื้นบ้านอีสานแล้ว ยังสามารถรับประทานได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พืชที่เหมาะต่อการนำมาแปรรูป คือ ตะไคร้แกง และเตยหอม ผสมกับแป้งมัน ในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 โดยไม่ใช้สารเคมีในกรรมวิธีการแปรูป ผลจากการทดสอบ และประเมินผลบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูป พบว่า มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ทนต่อสภาพการใช้งาน รองรับนํ้าหนักของผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านอีสานในแต่ละประเภทได้เป็นอย่างดี ต้นทุนเฉลี่ย 30 สตางค์ถึง 1 บาท ต่อหน่วย

ส่วนองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ชั้นกลาง และบรรจุภัณฑ์ ชั้นนอก เลือกใช้กระดาษแข็งต้นทุนตํ่าโดยการออกแบบให้สามารถขึ้นรูปด้วยวิธีการ ตัดและพับ ตามลักษณะการใช้งานเพื่อความสะดวกต่อการนำไปใช้ของกลุ่มตัวอย่าง กราฟิกบรรจุภัณฑ์ นำเอาอัตลักษณ์ของท้องถิ่นใช้ลวดลายของศิลปหัตหกรรมพื้นบ้านอีสาน เช่น ลายเฉลวหรือลายตาแหลวซึ่งชาวอีสานถือเป็นสิริมงคล เชื่อว่า ช่วยปกป้องภัยอันตรายต่างๆ โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบกราฟิกบรรจุ ภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ ออกแบบให้สื่อความหมายได้ชัดเจน เป็นที่จดจำ และสร้าง เอกลักษณ์ของแต่ละร้าน แผ่นป้ายร้าน ผู้วิจัยได้ออกแบบโดยเน้นความโดดเด่น อ่านง่าย มองเห็นได้ในระยะไกล ฉลากอาหาร อาศัยรูปแบบกราฟิกจากบรรจุภัณฑ์ ปรับขนาดและรูปทรงให้เหมาะสมกับตัวฉลาก ส่วนตู้โชว์อาหาร ออกแบบตามหลัก การยศาสตร์ สอดคล้องกับการใช้งาน สามารถป้องกันฝุ่นละอองและปลอดภัยต่อ การใช้งาน ถูกสุขอนามัย เป็นที่เชื่อมั่นต่อผู้บริโภค

ผลจากการประเมินโดยการนำต้นแบบไปทดลองในพื้นที่ โดยเก็บข้อมูล ความพึงพอใจจากผู้ซื้อและผู้ขาย พบว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความพึงพอใจใน ระดับมาก

 

Development of Containers for Isan Native Food

The purpose of this research study was to study 1) the development of containers for Isan native food and other related components. 2) test and develop style the manufacturing process material . Relating the containers Isan food 3) To evaluated develop food containers appropriate into the commercial Market entry local by case study from isan native food.

The samples were the sellers of three Isan food stores on the side of Mittraphap Road, Amphoe Phon, Khon Kaen Province. By random sampling of 3 stores. The development of food containers in this study aimed at making use of locally available materials in the North East such as galangal, citronella grass, pandanus palm, pisang awak or kluai nam wa banana, pine apple and lemon grass. In the experimental transformation of these plants or plant parts into food container materials, four aspects of material-related framework were focused on: use of natural materials, durability, low cost and environmental friendliness.

The results from the experimental transformation showed that materials obtained from the natural plants could be used as inner containers which did not only support Isan food, but they could also be eaten without any harmful effect on health. The materials suitable for this purpose were lemon grass and pandanus palm mixed with tapioca fl our in the ratio of 2 to 1 without adding any chemicals in the processing. Based on the test and evaluation of the containers produced from the processed materials, it was found that they were strong, highly fl exible, environmentally-friendly, bio-degradable, durable and able to support the weight of each of the Isan food products very well. The average cost was 30 satang to 1 baht per unit.

As for other related components such as the middle and outer containers, low-cost paper was cut and folded into various forms according to the needs of the sampled users. The graphics on the containers were selected from the characteristic Isan traditional patterns such as the Lai Chaleow or Lai Ta Laew pattern which North-easterners believed to bring luck and ward off any harm. These were adapted in the design of product graphics. As for the logo, it was designed to convey meanings clearly, to be memorable and to represent the identity of the food store. Regarding the store sign, the researcherdesigner emphasized the distinctiveness, readability and visibility. As to the label, the graphics on the container were re-used here, but the sizes were adjusted to fi t the label. As far as the food showcase is concerned, it was designed according to ergonomic principles and was dust-proof, safe and hygienic. This made the customers feel comfortable.

Article Details

How to Cite
เครือจันทร์ จ. (2014). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารพื้นบ้านอีสาน. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 6(1), 174–198. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/26959
Section
Research Articles