การพัฒนากรอบแนวคิดในการออกแบบเครื่องเรือนตามความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย

Main Article Content

สุรกานต์ รวยสูงเนิน

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ พัฒนากรอบแนวคิดในการออกแบบเครื่องเรือนตามความต้องการของผู้สูงอายุใน ชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย ผู้สูงอายุในชุมชนโนนม่วง ตำบล ศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ถูกคัดเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายในการศึกษานี้ ด้วย เหตุผลสำคัญคือ การเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทของชุมชนโนนม่วง ทำให้ผู้สูงต้องมี การปรับวิถีชีวิตภายใต้บริบทสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันร่างกายมีความเสื่อมถอยตามอายุ ทำให้มีพฤติกรรมความต้องการ ใช้เครื่องเรือนที่เฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ยังเป็นชุมชนที่มีผู้สูงอายุอยู่จำนวนมาก

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามกระบวนการศึกษาประกอบด้วย 1) การ สำรวจชุมชนใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ 2) การศึกษาความต้องการใช้เครื่องเรือนในชีวิตประจำวัน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บข้อมูลขนาดสัดส่วนร่างกาย และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเกี่ยวกับการ ใช้เครื่องเรือน 3) การพัฒนากรอบแนวคิด ใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การ วัดขนาดสัดส่วนร่างกาย ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และ 4) การ ทดสอบการใช้งานเครื่องเรือนที่พัฒนาตามกรอบแนวคิด

ผลการศึกษาพบว่า กรอบแนวคิดในการพัฒนาเครื่องเรือนสำหรับผู้สูงอายุ ในชุมชน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านวัสดุ ซึ่งจะ ต้องพิจารณาจาก สภาพแวดล้อมในชุมชน ในแง่ของการหาได้ง่าย ราคาถูก บำรุง รักษาง่าย 2) องค์ประกอบด้านการออกแบบ แยกเป็น การออกแบบที่เหมาะสมตาม ขนาดร่างกายที่เปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ การออกแบบเพื่อหลักความปลอดภัย และ การออกแบบเพื่อลดปัญหาข้อจำกัดด้านร่างกาย และ 3) องค์ประกอบด้านประโยชน์ ใช้สอย เป็นการคำนึงถึงการออกแบบเครื่องเรือนเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ งานหลายวัตถุประสงค์ในชิ้นเดียวกันด้วยเหตุผลหลัก 3 ด้าน คือ ลดการเคลื่อนไหว ประหยัดพื้นที่ใช้สอยในบ้าน และส่งเสริมสภาพจิตใจและอารมณ์ที่ดี

การออกแบบเครื่องเรือนตามแนวคิดดังกล่าวและนำไปทดลองใช้โดย ผู้สูงอายุที่คัดเลือกตามเกณฑ์ จำนวน 5 ราย พบว่า เครื่องเรือนที่พัฒนาสามารถ ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้สูงอายุต้องการ และช่วยแก้ปัญหาอันเกิดจาก ข้อจำกัดทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีจุดอ่อนของเครื่องเรือน ที่ออกแบบตามแนวคิดดังกล่าวที่ต้องปรับปรุงเล็กน้อยเช่นความแข็งแรงของข้อต่อ และขนาดของเรือน ผลงานดังกล่าวนับเป็นผลิตภัณฑ์ออกแบบนวัตกรรมที่ผู้วิจัย นำไปจดสิทธิบัตร และวางแผนขยายผลการใช้งานสู่ผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

 

Development of a model for household furniture desing according to the elderly’s needs in the Northeast community village of Thailand case study : None Muang Village in KhonKaen Province

This quasi-experimental study aimed to develop conceptual model in furniture design according to the needs of the elders who lived in the northeast community village of Thailand. Elderly people who lived in None Muang village of Tambon Sila in Khon Kaen province were selected as target population with major reasons for being a semiurban community of the village that infl uences their daily living within physical and social context transitions as well as a community with increased number of aging population. Additionally, declined physical functions create distinctive needs for furniture use among this specifi c group.

Data collection consisted of: 1) community survey using nonparticipatory observations and informal interviews; 2) exploration of elderly’s needs for daily furniture use employing in-depth interviews, measuring body segment, and non-participatory observations of routine furniture use; 3) conceptual model development using data from steps 1 and 2 as well as relevant literature review; and 4) feasibility testing of furniture using quasi-experimental method.

Study findings showed that there were 3 major elements of conceptual framework of community elderly’s furniture design. Material element was a consideration of selecting material for furniture based on community context in terms of availability, low cost, and eases of maintenance. Familiarity and harmony of material with community environment and elderly’s lifestyle was also taken into account for material element. Design element was a consideration of design based on body fi gure changes of the elders, safety of furniture use, and assistance with physical limitation. Facilitation ease of use and safety were main goals for design element. Function element was a consideration of design based on multi-purposes of the furniture with3 rationales including reducing physical mobility, saving space, and enabling pleasant mood and emotion.

Results of using prototype furniture by 5 elderly participants for 1 month demonstrated that furniture was designed appropriately to meet elderly’s needs for daily use as well as solving physical problems. However, there were minor limitations of the furniture that need improvement including size and secured joint assembly of the furniture. The furniture designed accordingly to the developed conceptual framework in this study was considered innovatively designed products. Therefore, it was registered for patent of intellectual property. The future plan for distribution of research fi ndings in other elderly groups will be followed.

Article Details

How to Cite
รวยสูงเนิน ส. (2014). การพัฒนากรอบแนวคิดในการออกแบบเครื่องเรือนตามความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 6(1), 199–223. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/26962
Section
Research Articles