การสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์โดยได้แรงบันดาลใจจากรูปทรงแขนนาง แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว

Main Article Content

บัววอน พมมะบุด
เดชา ศิริภาษณ์

Abstract

การสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์โดยได้แรงบันดาลใจจากรูปทรงแขนนาง แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา คติความเชื่อ และรูปทรงของแขนนาง แขวงหลวง พระบาง สปป.ลาว จากนั้นนำมาสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์จำนวน 1 ชุด โดยใช้ ข้อมูลศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยต่างๆ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการลงพื้นที่ภาคสนาม ประกอบด้วย แบบการสำรวจ แบบสังเกต และ แบบสัมภาษณ์ ประชากรและกลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การสร้างแขนนางในเมืองหลวงพระบางปรากฏ หลักฐานชัดเจนในราว ๆ ปี พ.ศ. 2046 สมัยพระเจ้าวิชุนราช เป็นลักษณะของ ไม้คํ้ายันธรรมดา ต่อมาในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ปี พ.ศ. 2090 รูปทรงแขน นางได้พัฒนาจนเกิดความวิจิตร บรรจง อ่อนช้อย และ สวยงามมากยิ่งขึ้น

คติการสร้างแขนนางในเมืองหลวงพระบางมีคติมาจาก 3 ทางคือ 1) คติ จากวรรณกรรมทางพุทธศาสนา 2) คติทางวัฒนธรรม สังคม การเมืองการปกครอง และ 3) คติในเรื่องของความดีงามของการคํ้าชูสะท้อนสัญลักษณ์บทบาทแม่หญิง ในพุทธประวัติอย่างมีนัยสำคัญ

รูปทรงแขนนางที่ปรากฏในวัดที่สร้างและปฏิสังขรณ์ โดยพระเจ้าไชยเชษฐา ธิราช พบว่ามี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) แขนนางรูปทรงแผง และ 2) แขนนางรูปทรงตัวนาค โดยแต่ละรูปทรงนั้นสื่อความหมายที่สะท้อนถึงความรู้สึกทางความงดงามอย่าง มีเอกลักษณ์ นับเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าทางด้านสัญลักษณ์ วรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์เป็นอย่างดี การสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์ ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้วางแนวทาง ปฏิบัติ รวมถึงแนวคิดการสร้างสรรค์ โดยใช้หลักสุนทรียภาพในการสร้างแขนนาง รวมถึงการนำรูปแบบที่ได้จากการศึกษารูปทรงของแขนนาง ที่สร้างและปฏิสังขรณ์ขึ้น ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว จำนวน 5 วัด คือ วัดเชียงแมน วัดเชียงทอง วัดมหาธาตุราชบวรวิหาร วัดหอเสี่ยง และวัดปากอู เป็น ข้อมูลสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปภาพพิมพ์ 4 เทคนิค คือ 1) ลายเส้น ไม้ร่องลึก 2) ลายเส้นแผ่นไฟเบอร์ใส และลายเส้นร่องลึกแผ่นโลหะ 3) ภาพพิมพ์ สีนํ้ามันและสีนํ้าบนวัสดุที่หลากหลาย และ 4) ภาพพิมพ์ผสมผสานจิตรกรรม โดย นำเอารูปทรง ลวดลาย และเทคนิคดังกล่าวมาปฏิบัติ ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้จำนวน 3 ชิ้น ได้แก่ 1) ชื่อผลงาน : การคํ้าจุน อุ้มชู พระพุทธศาสนา ขนาด: 90 X 80 ซม. เทคนิคแกะไม้ (Wood Cut Pepperbox Hard Ground Water Color) 2) ชื่อผลงาน : ความดีงามเกิดเป็นสัญลักษณ์ ขนาด: 90 X 80 ซม. เทคนิคแกะไม้ (Wood Cut and Pant) และ 3) ชื่อผลงาน: ความศรัทธาก็เกิดแรง สร้างสรรค์ ขนาด: 90 X 80 ซม. เทคนิคแกะไม้ (Wood Cut Pepperbox Dipole)

 

THE CREATIVE GRAPHIC INSPIRED BY FORM OF PROF PROP IN LUANGPRABANG LAO PDR.

The Creative Graphic Inspired by Form of Prof Prop in Luangprabang Lao PDR is a qualitative research aimed to study about the history, belief and the form of prof prop in Luangprabang Lao PDR. By doing document analysis, one set of creative graphic then was created. The interview, observation and survey were used in the fi eld study. The interview participants and samples are including wise men, skillful technicians, and people who were relevant to prof prop.

According to the research result, the creation of prof prop in Luangprabang was explicitly appeared during the period of King Vichulraj around 1503 B.C. and was such ordinary prop type. Subsequently during the era of King Sai Setthathirath in 1547 B.C., prof prop was developed to become more exquisite and delicate.

The principles in making prof prop in Luangprabang were 1) Buddhist Literature 2) Cultural, Social and Administrative Structure and 3) Virtue. The faith in Buddhism that Lao women had was compared as a symbolic reflection of women in the history of Buddha.

The appearances of prof prop created and renovated during King Sai Setthathirath period are 1) Phaeng Prof Prof Form and 2) Naga Prof Prop Form. Each form interpreted the unique aesthetic and considerably an invaluable symbolism in literary history.

In this creative graphic, the researcher has laid out the practice and creative concepts, in making prof prop, by using the aesthetic principles and forms of prof prop created and renovated during the era of King Sai Setthathirath in Luangprabang, Lao PDR. The 5 key temples, such as Xiangman Temple, Xieng Thong Temple, Mahathat Rajaworavihar Temple, Ho Xiang Temple and Pak Ou Temple were signifi cant sources of information. There are 4 techniques used in this creative graphic as follows: 1) Wood Cut 2) Dry Point and Etching 3) Graphic Water on Gaulle, and 4) Graphic and Painted. By adopting these techniques, 3 art theses were created: 1) Name: The Buddhism Enrichment Size: 90 X 80 cm. Technique used: Wood Cut Pepperbox Hard Ground Water Color 2) Name: The Symbolized Virtue size: 90 X 80 cm Technique used: Wood Cut and Paint 3) Name: Faithfulness to Creativeness size: 60 X 90 cm. Technique used: Wood Cut Pepperbox Dipole

Article Details

How to Cite
พมมะบุด บ., & ศิริภาษณ์ เ. (2014). การสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์โดยได้แรงบันดาลใจจากรูปทรงแขนนาง แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 4(2), 1–29. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/27138
Section
Research Articles