หน้าที่ของการสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลาง ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาบาลี ในการแสดงธรรม ของพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ; The Function of Code-switching between Central Thai Northeastern Thai Dialect and Pali in Dhamma Preaching of Ven. PhraSompob Jotipañño

Authors

  • พระมหาอธิวัฒน์ บุดดานาง สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

หน้าที่ของการสลับภาษา, ภาษาไทยกลาง, ภาษาไทยถิ่นอีสาน, ภาษาบาลี, การแสดงธรรม, พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ, Function semantics of code-switching, Central Thai, Northeastern Thai dialect, Pali, Dhamma preaching, Ven. PhraSompob Jotipañño

Abstract

                   บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หน้าที่การสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลาง ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาบาลี ในการแสดงธรรมของพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ จากเทปบันทึกเสียง MP3 ที่มีการเผยแผ่ในสื่อออนไลน์ โดยผู้วิจัยได้รวบรวมและจัดหมวดหมู่ได้ 7 หมวด ๆ หมวดละ 3 เรื่อง รวม 21 จากทั้งหมด 570 เรื่อง โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purpose selection)

                   ผลการวิจัยพบว่า หน้าที่ของการสลับภาษาจากการสลับภาษา 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) หน้าที่การสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลางกับภาษาไทยถิ่นอีสาน พบ 7 หน้าที่ ได้แก่ การอธิบาย การอุทาน การแสดงวัฒนธรรม การยกถ้อยคำ การเน้นย้ำ ความตลกขบขัน และการเจาะจงผู้รับสาร 2) หน้าที่การสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลางกับภาษาบาลี พบ 4 หน้าที่ ได้แก่ การอธิบาย การยกถ้อยคำ การเน้นย้ำ และการเจาะจงผู้รับสาร และ 3) หน้าที่การสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลาง ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาบาลี พบ 3 หน้าที่ ได้แก่ การอธิบาย การยกถ้อยคำ และการเน้นย้ำ

 

Abstract
                   This paper aims to the function semantics of code-switching between central Thai northeastern Thai dialect and Pali in Dhamma preaching of Ven. PhraSompob Jotipañño from the MP3 which is spread online. A researcher collects his talks and categorizes them into seven groups. Each group contains three stories. Therefore, there are 21 stories which were selected from 570 stories. The method of purpose selection is used for this dissertation.

                  The result of Code-switching Function in Dhamma preaching of Ven. PhraSompob are followings: 1) Seven code-switching functions are between central Thai and northeastern Thai dialect e.g., explanation, interjection, culture, words, focusing words, jokes and particular listeners. 2) Four code-switching functions are between central Thai and Pali e.g. explanation, words, focusing words, and particular listeners. 3) Three code-switching functions are between central Thai, northeastern Thai dialect and Pali e.g., explanation, words, and focusing important words.

References

พิชชารีย์ เกาะน้ำใส. (2557). การสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นอีสานในเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมพ์โพยม พิทักษ์. (2559). ลักษณะและหน้าที่ของการสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นอีสาน ของหนูหิ่น ในการ์ตูนเรื่อง หนูหิ่น อินเดอะซิตี้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมตตา ฟองฤทธิ์. (2556). การสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นอีสานของนักจัดรายการวิทยุในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิลาสินี ดาราฉาย. (2557). การสลับภาษาไทยกับภาษาจีนแต้จิ๋วของคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนเยาวราช. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา LANGUAGE IN THAI SOCIETY Diversity, Change,and Development.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อัญชลี ชัยวิเชียร. (2550). การสลับภาษาระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยนักเรียนที่ศึกษาในหลักสูตรการเรียนการสอนแบบสองภาษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Blom & Gumperz, J. (1972). Social Meaning in Linguistic Structure: Code-Switching in Norway. In Direction in Sociolinguistic: The Ethnography of Communication. New York: Holt,Rinehart and Winston.

Gumperz, J. (1982). Discourse strategies. Cambridge: Cambridge University.

Romaine, S. (1994). Language in society. Oxford: Oxford University Press.

Downloads

Published

2018-07-14

How to Cite

บุดดานาง พ. (2018). หน้าที่ของการสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลาง ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาบาลี ในการแสดงธรรม ของพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ; The Function of Code-switching between Central Thai Northeastern Thai Dialect and Pali in Dhamma Preaching of Ven. PhraSompob Jotipañño. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(1), 123–153. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/100503

Issue

Section

บทความวิจัย