ศักยภาพการบริหารจัดการลุ่มน้ำของคณะกรรมการลุ่มน้ำโตนเลสาบและการมีส่วนร่วมของชุมชนบริเวณลุ่มน้ำโตนเลสาบ (Potential of the Tonle Sab River Basin Committee in Watershed Management and People Participation of the Tonle Sab River Basin)

Authors

  • Rutima Aramrung นักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.สุภัทรา ถึกสถิตย์ Dr.Supattra Thueksathit อาจารย์ ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์ Dr.Sittichai Tantanasarit รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการบริหารจัดการลุ่มน้ำของคณะกรรมการลุ่มน้ำและศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนบริเวณลุ่มน้ำโตนเลสาบ โดยใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์คณะกรรมการลุ่มน้ำโตนเลสาบทุกคน และประชาชนบริเวณลุ่มน้ำโตนเลสาบ จำนวน 399 ตัวอย่าง และทำการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการลุ่มน้ำของคณะกรรมการลุ่มน้ำโตนเลสาบจาก 8 ดัชนี จากการศึกษาคณะกรรมการลุ่มน้ำโตนเลสาบ พบว่า ดัชนีด้านภารกิจหลักขององค์กรบริหารจัดการลุ่มน้ำ  ดัชนีด้านการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ดัชนีด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร และดัชนีด้านการบริหารงบประมาณขององค์กรลุ่มน้ำอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.03, 3.56, 3.17 และ 3.04 ตามลำดับ) ส่วนการศึกษาชุมชนในลุ่มน้ำโตนเลสาบ พบว่า ดัชนีด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำของประชาชนอยู่ในระดับสูง ( = 2.38) ดัชนีด้านปัญหาทรัพยากรน้ำด้านการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.16) ในขณะที่ดัชนีด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการลุ่มน้ำของประชาชน และดัชนีด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำอยู่ในระดับต่ำ (=1.92 และ 1.71 ตามลำดับ) ซึ่งพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการลุ่มน้ำโตนเลสาบ ได้แก่ สถานภาพทางสังคม ระดับการศึกษา อาชีพ ความเพียงพอของทรัพยากรน้ำ และปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ ส่วนการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการลุ่มน้ำของคณะกรรมการลุ่มน้ำโตนเลสาบโดย 8 ดัชนี พบว่า มีศักยภาพปานกลาง (= 1.80) โดยคณะกรรมการลุ่มน้ำควรส่งเสริมสนับสนุนชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการลุ่มน้ำมากยิ่งขึ้น อีกทั้งควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ กิจกรรม ในการบริหารจัดการลุ่มน้ำให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจ จะส่งผลให้การบริหารจัดการลุ่มน้ำมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

                The objectives of this research were to assess the potential of the Tonle Sab River Basin Committee (RBC) in watershed management and to study people participation in the Tonle Sab River Basin. Questionnaires were used for the interview all Tonle Sab River Basin Committees and 399 samples of household from people living in the Tonle Sab River Basin. The results of the Tonle Sab RBC showed that the score of indicators in mission, stakeholder, learning and growth and finance was medium (= 3.03, 3.56, 3.17 and 3.04, respectively).  In the part of people in Tonle Sab River Basin, the results showed that the score of indicators in water utilization was high (= 2.38) and water resource problems in agriculture was medium (= 2.16). On the other hand, score of indicators in people participation and peoples’ opinions toward Tonla Sab RBC of Watershed Management was low (= 1.92 and 1.71, respectively). Furthermore, factors affecting peoples’ participation in the Tonle Sab River Basin in watershed management were social position, education, occupation, water sufficiency and problem of water resources. In the assessment of Tonle Sab River Basin Committee’s Potential in watershed management by 8 indicators, it was found that the Tonle Sab River Basin Committee’s Potential was at medium level (= 1.80).  The Tonle Sab River Basin Committee should more encourage and more support in people participation.  Moreover, public relations about role, task and activities of RBC in watershed management is needed for supporting people’s understanding and more effective watershed management.

Downloads

Published

2018-06-04

Issue

Section

บทความวิจัย