การอัดก๊าซชีวภาพและใช้ประโยชน์ในรถจักรยานยนต์

Authors

  • ปิยะพงษ์ สิงห์บัว Khon Kean University
  • รัชพล สันติวรากร Khon Kean University

Keywords:

Biogas, Biogas compression, Motorcycle

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาพัฒนาระบบอัดก๊าซชีวภาพและการดัดแปลงรถจักรยานยนต์เพื่อให้ใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงได้ รวมไปถึงเปรียบเทียบอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อใช้น้ำมันแก๊สโซลีนและก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงในรถจักรยานยนต์ โดยทำการพัฒนาระบบอัดก๊าซชีวภาพและอัดก๊าซชีวภาพเข้าถังบรรจุขนาด 4 และ 15 กิโลกรัม ที่ความดันเกจ 15 บาร์ ซึ่งได้ปริมาณก๊าซชีวภาพที่บรรจุในถังเท่ากับ 0.2 และ 0.53 กิโลกรัม ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ปริมาณก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์เมื่อผ่านระบบอัดก๊าซชีวภาพแล้ว พบว่ามีการลดลงของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ 15.63% จากนั้นได้ทำการดัดแปลงรถจักรยานยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง โดยติดตั้งระบบจ่ายก๊าซชีวภาพและระบบผสมก๊าซชีวภาพกับอากาศเพิ่มเติม ซึ่งจากการเปรียบเทียบอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงระหว่างการใช้น้ำมันแก๊สโซลีนกับการใช้ก๊าซชีวภาพ พบว่าความเร็วที่รถจักรยานยนต์ประหยัดน้ำมันแก๊สโซลีนและก๊าซชีวภาพมากที่สุดคือ 80 และ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงอยู่ที่ 0.0112 ลิตร/กิโลเมตร และ 0.0304 กิโลกรัม/กิโลเมตร ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบปริมาณของก๊าซ คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และไฮโดรคาร์บอน (HC) ในไอเสียกรณีที่ใช้ก๊าซชีวภาพมีปริมาณน้อยกว่ากรณีที่ใช้น้ำมันแก๊สโซลีนโดยปริมาตร 97.42 %และ 31.08% ตามลำดับ แต่ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ในไอเสียกรณีที่ใช้ก๊าซชีวภาพมีปริมาณมากกว่ากรณีที่ใช้น้ำมันแก๊สโซลีน 35.51% ทั้งนี้เนื่องจากก๊าซชีวภาพมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์การประหยัดจากการใช้ก๊าซชีวภาพทดแทนการใช้น้ำมันแก๊สโซลีนในรถจักรยานยนต์ พบว่าในระยะทางที่เท่ากันการใช้ก๊าซชีวภาพจะประหยัดกว่าการใช้น้ำมันแก๊สโซลีน 3.06 บาท/กิโลเมตร หากมีการใช้รถจักรยานยนต์วันละ 50 กิโลเมตร/วัน และมีต้นทุนที่ใช้ในการสร้างเครื่องอัดและดัดแปลงรถจักรยานยนต์เท่ากับ 21,000 บาท จะมีระยะเวลาคืนทุน 2.5 ปี

Downloads

Published

2014-10-26

Issue

Section

วิทยาศาสตร์กายภาพ