Sacroiliac Joint Mobilization Immediate Improved Clinical Features of Non-Specific Low Back Pain with Sacroiliac Joint Dysfunction (ผลทันทีของการขยับเคลื่อนข้อกระเบนเหน็บต่อลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างแบบไม่เฉพาะเจาะจงซึ่งมีความผิดปกติของข้อกร

Authors

  • กุลญาณ์ภาส์ เคนคำภา Khon Kaen University
  • ยอดชาย บุญประกอบ Khon Kaen University
  • ปรีดา อารยาวิชานนท์ Khon Kaen University

Keywords:

Sacroiliac joint mobilization, Lumbar spinal flexibility

Abstract

ข้อกระเบนเหน็บ (Sacroiliac joint: SIJ) เป็นโครงสร้างสำคัญที่เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง (low back pain; LBP) ความผิดปกติของข้อกระเบนเหน็บ (sacroiliac joint dysfunction; SIJD) พบได้ทั้งในผู้ที่มีอาการและไม่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง อาจส่งผลให้เกิดอาการปวด และการจำกัดองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังบริเวณเอวและข้อกระเบนเหน็บได้ การขยับเคลื่อนข้อกระเบนเหน็บ (SIJ mobilization) เป็นอีกหนึ่งในวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนผลของการศึกษาในหลายแง่มุม ได้แก่ สามารถลดอาการปวดและส่งเสริมการเคลื่อนไหวของข้อกระเบนเหน็บ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาใดที่ทำการศึกษาผลทันทีของการขยับเคลื่อนข้อกระเบนเหน็บต่อการเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับเอว ของการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทันทีของการขยับเคลื่อนข้อกระเบนเหน็บต่อความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับเอว การรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด และระดับกั้นความเจ็บปวดจากแรงกดในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างแบบไม่เฉพาะเจาะจงซึ่งมีความผิดปกติของข้อกระเบนเหน็บ โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 16 คน (ชาย 8 คน หญิง 8 คน อายุ 39.3 ± 12.7 ปี) โดยแบ่งอาสาสมัครแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับการรักษาโดยการขยับเคลื่อนข้อกระเบนเหน็บทั้งสองข้าง 30 ครั้ง/เซ็ต 3 เซ็ต/ข้าง (ภายในระยะเวลา 4 นาที) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับจัดท่าเริ่มต้น (นอนพักในท่าตะแคงด้านละ 2 นาที) เหมือนกลุ่มทดลองทุกประการ โดยผู้วิจัยใช้มือสัมผัสบริเวณข้อกระเบนเหน็บทั้งสองด้าน แต่มิได้ส่งแรงกระทำแต่อย่างใด ทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการประเมินความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar spinal flexibility) ด้วยวิธีทดสอบ Modified-modified Schober ทดสอบการรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด (pain perception) ด้วยแบบประเมินความเจ็บปวด (visual analog scale: VAS) และทดสอบระดับกั้นความเจ็บปวดจากแรงกด (pressure pain threshold: PPT) ด้วยเครื่อง algometer ก่อนและหลังการทดลองทันที ผลการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test พบว่ากลุ่มทดลองมีการเพิ่มขึ้นของความยืดหยุ่นของหลังระดับเอว (p=0.007; 0.71±0.53) มากกว่ากลุ่มควบคุม (p=0.07; 0.12±0.15) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.008) นอกจากนี้กลุ่มทดลองยังมีระดับ VAS ลดลง (p=0.001 ; 22.25±9.56) และค่า PPT เพิ่มขึ้น (p=0.001; 1.81±0.97) แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) สรุปผลการศึกษา การขยับเคลื่อนข้อกระเบนเหน็บสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นโดยรวมของหลังระดับเอว ลดอาการปวดหลัง และเพิ่มระดับกั้นความเจ็บปวดจากแรงกดในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างแบบไม่เฉพาะเจาะจงซึ่งมีความผิดปกติของข้อกระเบนเหน็บร่วมได้

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-31

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ