ต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Costs Analysis of Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis Patients with the Universal

Authors

  • อารุณี มีศรี Khon Kaen University
  • ธีระ ฤทธิรอด Khon Kaen University
  • วีระวรรณี ตันตาปกุล Khon Kaen University
  • ดรุณี จันทร์เลิศฤทธิ์ Khon Kaen University
  • ทวี ศิริวงศ์ Khon Kaen University

Keywords:

Cost, Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD)

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปรียบเทียบกับเงินชดเชยที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปีงบประมาณ 2554 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมของการให้บริการล้างไตทางช่องท้องของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีจำนวน 0.98 ล้านบาท เป็นต้นทุนทางตรง 0.81 ล้านบาท ต้นทุนทางอ้อม 0.17 ล้านบาท ต้นทุนทางตรงมีสัดส่วนต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน 73.09 : 18.98 : 7.93 ต้นทุนการให้บริการ 1,125.82 บาทต่อครั้ง รายรับเฉลี่ยของการมาใช้บริการล้างไตทางช่องท้อง 3,820.82 บาทต่อครั้ง มีอัตราการคืนทุนร้อยละ 339.38 ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนคือ จำนวนครั้งที่ให้บริการเกินกว่าเกณฑ์ที่ สปสช. จ่ายเงินชดเชย จึงได้เสนอแนวทางในการบริหารจัดการต้นทุนโดย 1) การกำหนดให้ผู้ป่วยแจ้งข้อมูลของตนเองเพื่อให้สามารถประเมินปัญหาและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 2) การจัดการด้านอัตรากำลังที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้การมาใช้บริการนอกเหนือการนัดหมายน้อยลง ต้นทุนในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยของหน่วยงานก็จะลดลงด้วย

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-31

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ