ผลของการทดลองใช้รูปแบบกุมภวาปีโมเดล ต่อการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพครอบครัวในการป้องกันดูแลฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน: กรณีศึกษา โรงพยาบาลขอนแก่น ณ จังหวัดขอนแก่น (Effects of The “Kumpavapee Model” Toward the potential development of the family leaders i

Authors

  • ยุพา เบ้าคำผาย Khon Kaen University
  • ดารุณี จงอุดมการณ์ Khon Kaen University

Keywords:

Family health nurse, Stroke patients, Kumpavapee model

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้รูปแบบกุมภวาปีโมเดลต่อการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพครอบครัวในการป้องกัน ดูแล ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนพื้นที่กรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ 1) แกนนำสุขภาพครอบครัวจำนวน 20 คน 2) ตัวแทนครอบครัว จำนวน 130 คน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน–หลังทดลอง หลังการทดลองพบว่า 1) แกนนำสุขภาพครอบครัวมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการป้องกันดูแล ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค สูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญ (P< 0.05 paired t–test) 2) ตัวแทนครอบครัว มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการป้องกันดูแล ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค สูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญ (P< 0.05 paired t–test) 3) ผลอื่นๆ มีชมรมโรคหลอดเลือดสมอง มีระบบการติดตามเยี่ยมบ้านและดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รูปแบบชัดเจนสามารถใช้เป็นรูปแบบในการป้องกันดูแลฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนได้สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่อื่นๆที่มีสภาพปัญหาบริบทที่คล้ายคลึง

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-31

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ