การส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

Authors

  • ประพรรษา เย็นสบาย
  • อังคณา ตุงคะสมิต

Keywords:

The encouragement of other containers(การส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่น), The plastic bags(ถุงหิ้วพลาสติก)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม และศึกษาความคิดเห็นหลังการส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการมาใช้ในการดำเนินการวิจัยซึ่งรูปแบบดังกล่าวประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ เพื่อสรุปหาข้อบกพร่องและแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินการในครั้งต่อไป กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ คณะกรรมการชุมชนและอาสาสมัครหมู่บ้านกุดน้ำใส ตำบลกุดน้ำใส อำเภอ
น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โครงการประกอบกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติก 2) แบบสอบถามก่อน-หลังการเข้าร่วมส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติก 3) แบบสอบถามเหตุการณ์ขณะจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติก 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติก 5) แบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติก ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) 
ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งปรากฏผลการวิจัยดังนี้
1. พฤติกรรมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกของกลุ่มเป้าหมายก่อน และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกมีความแตกต่างกัน จากที่เคยใช้ถุงหิ้วพลาสติก อันดับที่ 1 จำนวน 6-10 ใบ/วันจำนวน 31 คนคิดเป็นร้อยละ 51.70 อันดับที่ 2 จำนวน 11-15 ใบ/วันจำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 25.00 อันดับที่ 3 จำนวน 16-20 ใบ/วันจำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 15.00 อันดับที่ 4 จำนวน 1-5 ใบ/วันจำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 8.30 มีปริมาณการใช้ถุงหิ้วพลาสติกเปลี่ยนไปเป็น เป็นอันดับที่ 1 จำนวน 1-5 ใบ/วันจำนวน 28 คนคิดเป็นร้อยละ 46.70 อันดับที่ 2 จำนวน 6-10 ใบ/วันจำนวน 11 คนคิดเป็นร้อยละ 18.30 อันดับที่ 3 จำนวน 11-15 ใบ/วันจำนวน 11 คนคิดเป็นร้อยละ 18.30 อันดับที่ 4 จำนวน 16-20 ใบ/วันจำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 16.7 และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการลดใช้ถุงหิ้ว
พลาสติกโดยเปลี่ยนไปใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกจากจำนวน 21 คนคิดเป็นร้อยละ 35.00 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 39 คนคิดเป็นร้อยละ 65.00
2. หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติก ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกโดยภาพรวมอยู่ในระดับ “ มาก ” เมื่อพิจารณา เรียง ลำดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นพบว่าลำดับที่ 1 คือ การใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกเป็นการลดปริมาณขยะ ( = 4.83, S.D.= 0.38) ลำดับที่ 2 คือ การใช้ถุงหิ้วพลาสติกปริมาณมากเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ( = 4.72, S.D.= 0.45) และลำดับที่ 3 คือ ท่านสามารถประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ ( = 4.72, S.D.= 0.45) ดังนั้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ
ใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกนี้สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ภาชนะอื่นทดแทนถุงหิ้วพลาสติกของกลุ่มเป้าหมาย ได้ตามวัตถุประสงค์การวิจัย

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์