แนวทางการพัฒนาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่

Authors

  • อนันต์ คำอ่อน
  • วิภาวี กฤษณะภูติ

Keywords:

Local Health Fund(กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่), Means to improve the role of the Sub-district Administrative Organization in promoting, Banrua Sub-district Administrative Organization(แนวทางการพัฒนาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริม)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 30 ราย ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่สำนักปลัด และเจ้าหน้าที่ส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเรือ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนฯ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูเวียง สาธารณสุขอำเภอภูเวียง เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยตำบลบ้านเรือ ครูอนามัยของโรงเรียนในพื้นที่ ผู้ดูแลเด็กประจำศูนย์พัฒนาเด็กในพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมายพิเศษในพื้นที่ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) โดยมีแนวทางการสัมภาษณ์ (Interview Guide) เป็นเครื่องมือหลัก และเลือกกรณีที่น่าสนใจ สัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) และการศึกษาเอกสาร และใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Descriptive Method) ในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า 
1. บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ได้แก่ การบรรจุโครงการจัดตั้งและดำเนินการกองทุนฯ ไว้ในแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล การสนับสนุนงบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณ การบริหารจัดการกองทุน การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และ การติดตามประเมินผล 
2. การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ได้มีการจัดตั้งกองทุนฯในปี พ.ศ.2549 มีการบริหารงานในรูปคณะกรรมการ ขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานด้านสุขภาพ ปัญหาการดำเนินงานกองทุนที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนงบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณ การติดตามประเมินผล การบริหารจัดการกองทุนและการวางแผนพัฒนา หรือการบรรจุโครงการจัดตั้งและดำเนินการกองทุนฯไว้ในแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล
3. แนวทางในการพัฒนาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ได้แก่ การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการจัดตั้งกองทุนฯในเขตพื้นที่อื่น โครงสร้างกรรมการบริหารกองทุนฯที่ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ จัดให้มีการประชาสัมพันธ์การจัดตั้งกองทุนฯเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง มีการสนับสนุนงบประมาณให้กองทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี มีการบริหารจัดการกองทุนฯตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐ มีการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐานคิดที่สำคัญในการออกแบบกิจกรรม/โครงการ ให้บริการด้านป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และมีคณะกรรมการในระดับอำเภอทำหน้าที่กำกับดูแลติดตามประเมินผล

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์