ระดับความพึงพอใจในพันธุ์ข้าวโพดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สำลีอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • พัชราภรณ์ ภูมิจันทึก
  • นิวัฒน์ มาศวรรณา

Keywords:

Samlee Isarn waxy corn(ระดับความพึงพอใจในพันธุ์ข้าวโพด), Farmers' satisfaction leverl(สำลีอีสาน)

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในพันธุ์ข้าวโพดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สำลีอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำการวิจัยแบบสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สำลีอีสาน 134 ราย ในระหว่างเดือน กุมภาพันธ์–พฤษภาคม 2552 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) ในการวิเคราะห์ความพึงพอใจของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สำลีอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดหลังการทำนาปี โดยปลูกหลุมละ 2 ต้น ใช้ระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 8,323.42 บาทต่อไร่ ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ต้นและฝักข้าวโพดสูงเกินไป ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความยุ่งยากในการเก็บผลผลิต และหักล้มได้ง่าย เกษตรกรมีความพึงพอใจในลักษณะประจำพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สำลีอีสานส่วนใหญ่ในระดับมาก เกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดพันธุ์สำลีอีสานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในพันธุ์ข้าวโพดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้าน ความสูงต้นของข้าวโพด โดยเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สำลีอีสาน 1-2 ปี มีความพึงพอใจต่อความสูงต้นของข้าวโพด มากกว่าเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูก 3-4 ปี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างมาตรฐานและพัฒนาสายพันธุ์ให้เป็นที่พึงพอใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

วิทยาศาสตร์กายภาพ