A New Exercise Model: Brisk Walking with Swaying Hips and Hand Weight Load Exercise Program and Its Effect on Anthropometry, Physical Performance and Cardiopulmonary Function in Obese Thai Adults (การออกกำลังกายรูปแบบใหม่ด้วยการเดินเร็วและบิดเอวร่วมกับกา

Authors

  • Pruchya Chumvangvapee (ปรัชญา ชุมแวงวาปี)
  • Dr.Tunda Suttitum (ดร.ธัญดา สุทธิธรรม)
  • Orapin Pasurivong (อรพิน ผาสุริยวงษ์)
  • Teera Piwngern (ธีระ ผิวเงิน)

Keywords:

Brisk Walking with Swaying Hips and Hand Weight (BWSH) (การออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วและบิดเอวร่วมกับ การเพิ่มน้ำหนักที่แขน), Physical performance (สมรรถภาพกาย), Cardiopulmonary function (หน้าที่การทำงานของ หัวใจและปอด)

Abstract

ABSTRACT

Obesity is an important risk factor for several diseases. The objective of this study was to investigate anthropometry, physical performance and cardiopulmonary function after 12 weeks of brisk walking with swaying hips and hand weight load (BWSH) exercise model in obese Thai adults, aged between 20 to 35 years. Thirty-two obese, BMI 30.0-40.0 kg/m2 were divided into 2 groups; control obese group (COb; n=15) subjects behave a normal lifestyle and exercise obese group (ExOb; n=17) BWSH hand weight load of 0.9 - 2.26 kg at both hands performed for 40 min/session (5 min warm up, 30 min exercise of 60 to 80% HR max and 5 min cool down) at least 3 days/week for 12 consecutive weeks. Results of body weight (BW), body mass index (BMI), waist circumference (WC), waist to hip ratio (WHR), blood pressure (BP) and heart rate (HR) showed no significant differences in both groups, while hip circumference (HC) was decreased significantly (p<0.05) at weeks 8 and 12. Percentage of total body fat was decreased at weeks 4, 8 and 12 of exercise group (p<0.001). Besides, hand grips and leg strength test was increased at weeks 4 and 8 (p<0.05) and in week 12 (p<0.01), respectively. Back strength test showed only increase at weeks 8 and 12 (p<0.05) compared to control obese group. The results of cardiopulmonary function test by six-minute walk test (6MWT) showed increase (p<0.01) at week 4 from 560.59 ± 52.02 m to 589.53 ± 58.13 m and increased (p<0.001) at weeks 8 and 12 from 560.59 ± 52.02 m to 620.18 ± 56.87 m and 560.59 ± 52.02 m to 635 ± 64.57 m in obese exercise group, respectively. This study shows that aerobic exercise, BWSH, is a new exercise model to be suitable for health promotion on anthropometry, physical performance and cardiopulmonary function in obese Thai adults.

บทคัดย่อ

โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับหลายๆโรค วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาผลของการวัดสัดส่วนของร่างกาย สมรรถภาพกายและหน้าที่การทำงานของหัวใจและปอดหลังจาก 12 สัปดาห์ของการฝึกออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วและบิดเอวร่วมกับการเพิ่มน้ำหนักที่แขน (BWSH) ในคนไทยวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะโรคอ้วนมีอายุระหว่าง 20-35 ปี อาสาสมัครโรคอ้วนจำนวน 32 ราย ดัชนีมวลกาย 30.0-40.0 กก. / ตร.ม. ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มโรคอ้วนควบคุม (COb; n=15) และกลุ่มโรคอ้วนออกกำลังกาย (ExOb; n=17) กลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตตามปกติ ส่วนกลุ่มออกกำลังกายจะได้รับการฝึกเดินเร็วและบิดเอวร่วมกับการเพิ่มน้ำหนักที่แขน 0.9-2.26 กิโลกรัม โดยให้ออกกำลังกาย 40 นาที/ครั้ง (5 นาที อบอุ่นร่างกาย 30 นาที ออกกำลังกายที่ความหนัก 60-80% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (HRmax) และ 5 นาทีคลายอุ่น) อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์จนครบ 12 สัปดาห์ติดต่อกัน ผลของน้ำหนักตัว (BW) ดัชนีมวลกาย (BMI) เส้นรอบเอว (WC) อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (WHR) ตลอดจนความดันเลือด (BP) และอัตราการเต้นหัวใจ (HR) พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งสองกลุ่ม ผลเฉพาะเส้นรอบสะโพก (HC) เท่านั้นที่แสดงให้เห็นความแตกต่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในสัปดาห์ที่ 8 และ 12 ขณะที่ร้อยละของไขมันในร่างกายทั้งหมดแสดงผลลดลงในสัปดาห์ที่ 4  8 และ 12 ที่ p<0.001 ของกลุ่มออกกำลังกาย นอกจากนี้ผลของความแข็งแรงของมือและของขาเพิ่มขึ้น ในสัปดาห์ที่ 4  8 และ 12  ที่ p<0.01 ตามลำดับ ขณะที่ความแข็งแรงของหลังเพิ่มขึ้น (p<0.05) เฉพาะในสัปดาห์ที่ 8 และ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มโรคอ้วนควบคุม  ผลการทดสอบหน้าที่การทำงานของหัวใจและปอดโดยการทดสอบเดินเร็วหกนาที (6MWT) แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นของระยะทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p<0.01 ในสัปดาห์ที่ 4 จาก 560.59 ± 52.02 เมตร เป็น 589.53 ± 58.13 เมตรและที่   p<0.001 ใน สัปดาห์ที่ 8 และ 12 จาก 560.59 ± 52.02 เมตร เป็น 620.18 ± 56.87 เมตรและ 560.59 ± 52.02 เมตร เป็น 635 ± 64.57 เมตร ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแอโรบิกฺด้วยการเดินเร็วและบิดเอวร่วมกับการเพิ่มน้ำหนักที่แขนเป็นรูปแบบใหม่ของการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับสร้างเสริมสุขภาพและช่วยเพิ่มการวัดสัดส่วนของร่างกาย สมรรถภาพกายและหน้าที่การทำงานของหัวใจและปอดในคนไทยวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะโรคอ้วน

Downloads

Additional Files

Published

2016-06-30

Issue

Section

Articles