ผู้หญิงลาวในพื้นที่ลุ่มน้ำเซบังไฟ ความเป็นชนพื้นเมือง การทับซ้อนของพหุอัตลักษณ์ ภูมิศาสตร์อารมณ์และผลกระทบจากเขื่อนน้ำเทิน 2

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ มะโนรมย์ กนกวรรณ มะโนรมย์ หน่วยงานสังกัด รองศาสตราจารย์ ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วุฒิการศึกษา Doctor of Philosophy (Rural Sociology) University of Missouri-Columbia, USA ที่อยู่ติดต่อกลับ [email protected]

คำสำคัญ:

ผู้หญิง, ความทับซ้อนกันของพหุอัตลักษณ์, ชนพื้นเมือง, ภูมิศาสตร์อารมณ์, เขื่อนน้ำเทิน 2

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการถกเถียงเกี่ยวกับผลกระทบจากเขื่อนน้ำเทิน 2 ต่อผู้หญิงลาวลุ่ม และผู้หญิงชาวบรู โดยชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงแต่ละกลุ่มได้ประโยชน์และได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 ในลักษณะที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้แนวคิดการทับซ้อนของพหุอัตลักษณ์ การเมืองเรื่องการนิยามความหมายของ “ชนพื้นเมือง” และภูมิศาสตร์อารมณ์ บทความชี้ให้เห็นว่าการเมืองเรื่องการนิยามความหมายของคำว่า “ชนพื้นเมือง” ของรัฐบาลลาวส่งผลต่อความแตกต่างในการเข้าได้รับผลกระทบและการเข้าถึงทรัพยากร นอกจากนี้บทความยังได้เสนอให้เห็นมิติด้านอารมณ์ความรู้สึกที่นอกเหนือไปจากมิติเชิงรูปธรรมหรือสิ่งที่วัดได้  จากการได้รับประโยชน์และผลกระทบจากเขื่อนน้ำเทิน 2 โดยชี้เห็นว่าผู้หญิงแต่ละฐานะทางเศรษฐกิจสังคมภายในกลุ่มลาวลุ่มด้วยกันเองและระหว่างกลุ่มลาวลุ่มกับกลุ่มชนพื้นเมืองแสดงออกถึงความอัดอั้นตันใจ ความเครียด ความวิตกกังวล และความพอใจ ต่อความเป็นอยู่ของครอบครัวทั้งปัจจุบันและอนาคตที่แตกต่างกันต่อผลกระทบของเขื่อนน้ำเทิน 2 ดังนั้น การวิเคราะห์การเมืองเรื่องเขื่อนไม่ควรมองข้ามมิติของอารมณ์ความรู้สึกที่ฝังแฝงอยู่ในการจัดการทรัพยากรในระดับโครงสร้างการพัฒนา ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในการทำความเข้าใจการเมืองเรื่องของทรัพยากรได้ลุ่มลึกและรอบด้านมากขึ้น  ข้อมูลในบทความมาจากงานวิจัย ที่ดำเนินการศึกษาในปลายปี พ.ศ. 2557 จนถึงต้นปีพ.ศ. 2558  โดยการสัมภาษณ์ผู้หญิงจากหมู่บ้านลาวลุ่ม 30 คนใน 22 หมู่บ้านและผู้หญิงชาวบรู 10 คน จากหมู่บ้านชนเผ่าบรู 4 หมู่บ้าน ผู้เขียนใช้คำถามกึ่งโครงสร้าง และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และข้อมูลมือสอง

 

คำสำคัญ: ผู้หญิง ความทับซ้อนกันของพหุอัตลักษณ์ ชนพื้นเมือง ภูมิศาสตร์อารมณ์ เขื่อนน้ำเทิน 2 

Downloads