ผลงานวิจัยการสร้างสรรค์ละครชาตรีเครื่องใหญ่เรื่อง กากี ตอนพญาครุฑลักนางกากี

Main Article Content

สวภา เวชสุรักษ์

บทคัดย่อ

ผลงานวิจัยการสร้างสรรค์ละครชาตรีเครื่องใหญ่เรื่อง กากี ตอนพญาครุฑลักนางกากี วัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยการสร้างสรรค์ละครชาตรีเครื่องใหญ่เรื่อง กากี ตอนพญาครุฑลักนางกากี เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อรวบรวมข้อมูลนำเสนอเป็นผลงานทางวิชาการการวิจัยเชิงคุณภาพและเพื่อเป็นการอนุรักษ์การพัฒนางานสร้างสรรค์สืบสานการแสดงละครชาตรีในรูปแบบละครชาตรีเครื่องใหญ่วิธีดำเนินการวิจัยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องประวัติความเป็นมาของการเล่นละครชาตรีจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ศิลปินพื้นบ้านที่มีความรู้และสืบทอดการแสดงละครชาตรีมาถึงปัจจุบัน สัมภาษณ์ศิลปินละครหลวง เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการสร้างผลงานสร้างสรรค์ละครชาตรีเครื่องใหญ่ 


            ผลการวิจัยพบว่าได้จัดนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ละครชาตรีเครื่องใหญ่เรื่อง กากี  ตอนพญาครุฑลักนางกากี บทประพันธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอแสดงดนตรี  อาคารศิลปวัฒนธรรม  สำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย       จัดนำเสนอใน 3 รูปแบบ คือ ฉากนำเกริ่นกำเนิดกากี จัดสัมมนาทางวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยการแสดงสร้างสรรค์  และจัดการแสดงละครชาตรีเครื่องใหญ่เรื่องกากี  ตอนพญาครุฑลักนางกากี รวบรวมข้อมูลในการดำเนินงานนำเสนอเป็นผลงานการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ บทนำ องค์ความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับละครชาตรีพัฒนาไปสู่ละครชาตรีเครื่องใหญ่ แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งาน ระยะการเตรียมงาน           การดำเนินงานสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบการแสดง วางแนวคิดการสร้างนาฏยลักษณ์ของตัวละคร และการแต่งกาย วิธีการนำเสนอนาฏยลักษณ์ด้วยการผสมผสานของละครชาตรีพื้นบ้านและละครชาตรีแบบหลวง การแสดงเริ่มด้วยรำซัดไหว้ครูและรำบทสอนรำตามแบบโบราณของละครชาตรี  เริ่มแสดงฉากเหตุการณ์ในฉากแคว้นกรุงพาราณสี   ฉากเริงฤทธีครุฑจำแลง ฉากแรงฤทธิ์เสน่หา ฉากลักพาเริงฉิมพลีและฉากรื่นฤดีหิมพานต์การแสดงสิ้นสุดในรูปแบบของสุขนาฏกรรม การนำเสนอผลงานทางวิชาการครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์งานด้วยการประยุกต์ละครชาตรีเครื่องใหญ่อันเป็นรูปแบบเฉพาะทางขึ้นใหม่อีกแนวหนึ่ง งานชิ้นใหม่นี้นับว่าเป็นงานที่ช่วยอนุรักษ์งานศิลปะท้องถิ่นของไทยให้สืบสานต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ