ไวยากรณ์สากลกับการเรียนรู้และการสอนภาษาที่สอง

Main Article Content

ปรีดา เมธีภาคยางกูร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ มักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงแนวคิดไวยากรณ์สากล  (Universal Grammar) ของชอมสกี (Chomsky, 1959, 1980, 1981, 1986) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจากการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาแม่หรือภาษาที่หนึ่งตามแนวคิดการเรียนรู้แต่กำเนิด โดยเชื่อว่าเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาแม่ของตนได้ เนื่องจากมีความสามารถตั้งแต่เกิด เริ่มแรก ไวยากรณ์สากลจะใช้อธิบายกระบวนการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง ต่อมามีการเชื่อมโยงไปสู่แนวคิดและทฤษฎีของกลุ่มนักวิชาการใหม่ ๆ ขึ้นมา จนนำไปสู่การศึกษาการเรียนรู้ภาษาที่สอง


การศึกษาครั้งนี้นำเสนอภาพรวมแนวคิดไวยากรณ์สากลกับการเรียนรู้และการสอนภาษา  ที่สอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ไวยากรณ์สากลกับการเรียนรู้และการสอนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ

Article Details

How to Cite
เมธีภาคยางกูร ป. (2018). ไวยากรณ์สากลกับการเรียนรู้และการสอนภาษาที่สอง. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 37(1), 159–176. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/133044
บท
บทความวิชาการ