ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านดอนหว่านหัวหนอง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

มะลิวัลย์ ศรีสารคาม

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านดอนหว่านหัวหนอง จังหวัดมหาสารคาม และ 2) เพื่อศึกษาการยอมรับและการนำไปใช้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนบ้านดอนหว่านหัวหนอง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนบ้านดอนหว่านหัวหนอง จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามการยอมรับและการนำไปใช้ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


        ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนบ้านดอนหว่านหัวหนอง จังหวัดมหาสารคาม  ได้ดำเนินการร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา จำนวน 5 โครงการ ได้แก่   1.1) โครงการศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษา และพัฒนาชนบท  1.2) โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  1.3) โครงการการส่งเสริมการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1.4) โครงการการส่งเสริมการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เพื่อการเรียนรู้  และ 1.5) โครงการการเผยแพร่สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (การจัดกิจกรรมค่ายอาสา “เยาวชนทั่วถิ่นไทย เรียนรู้ได้ ใต้ร่มพระบารมี”)  โดยผู้วิจัยดำเนินการประสานงาน และนำครูในโรงเรียนมาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งที่จัดที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดที่โรงเรียนบ้านดอนหว่านหัวหนอง จังหวัดมหาสารคาม และ 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษายอมรับต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนบ้านดอนหว่านหัวหนอง จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน
อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). หลากหลายวิธีวิธีกับการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[3] โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท. (2556). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2556]. จาก http://edltv.thai.net/index.php?mod=Message&op=aboutus.
[4] สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). [ออนไลน์]. ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. KMITL Information Technology Journal (Jan. – Jun. 2012).[สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2556]. จาก http://journal.it.kmitl.ac.th. [10/6/2013].
[5] วรปภา อารีราษฎร์ และคณะ (2556). รูปแบบกิจกรรมค่ายอาสาเครือข่ายอีดีแอลทีวีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 NCCIT 2013, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม