The แนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยระบบเอ็มคอมเมิร์ช บนระบบปฏิบัตการแอนดรอยด์

Main Article Content

weerapon panurag

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการ และหาแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) พัฒนาระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3) ประเมินคุณภาพของระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4) หาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตชุมชนตำบลแก่งเลิงจาน  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 99 คน กำหนดจำนวนด้วย ตารางทาโร่ยามาเน่ ที่ค่าผิดพลาด ± 10 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการชุมชน ระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แบบประเมินคุณภาพระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และแบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้ระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.


          ผลการวิจัยมีดังนี้


ผลสำรวจความต้องการ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ พบว่า ชุมชนมีความคิดเห็นโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67,S.D.=0.52)  ผลการสำรวจแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ชุมชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.66, S.D.=0.48)  ผลการพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็น Web Application ซึ่งเป็นส่วน อบต. และส่วนที่ 2 ที่เป็น Mobile Application ที่ใช้งานบนมือถือระบบปฏิบัติการ Android เป็นส่วนใช้งานสำหรับลูกค้า ผลการประเมินคุณภาพของระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.87, S.D. = 0.23) และผลการหาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.63 , S.D. =0.53 )

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุชา สหัสรังสี. (2546). การศึกษาแผนธุรกิจของพยากรณ์ดวงชะตาบน M-commerce งานวิจัยเฉพาะกรณี วิทยาลัยวัต
กรรมอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธงชัย บรรจมาตย์. (2560). ระบบสั่งจองอาหารร้านกินดีสุกี้ผ่านแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ
แอนดรอยด์. ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
พักตร์สร สมภา. (2554). ระบบศูนย์ขายสินค้าโอทอป ออนไลน์. ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วีระพน ภานุรักษ์. (2558). รูปแบบการเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (คอมพิวเตอร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.
Stair, R.N. (1996). Principle of Information System A Managerial Approach. (2nd ed.).
Massachusetts : Boys – Fraser.