การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดีย เรื่อง สวัสดีอาเซียน ตามแนวคิดทฤษฏีพฤติกรรมนิยม

Main Article Content

นิพล สังสุทธิ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดีย เรื่อง สวัสดีอาเซียน
ตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดีย และ  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดียกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) ในสังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี ได้มาโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดีย เรื่อง สวัสดีอาเซียน
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อาเซียนศึกษา ซึ่งมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 


            ผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดีย เรื่อง สวัสดีอาเซียน ตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีประสิทธิภาพ 80.50/80.67 เป็นตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) สื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดียมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.61 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้สื่อการเรียนการสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การศึกษา :กลไกขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน.ค้น เมื่อ 1 ตุลาคม 2557.จาก
http://www.bic.moe.go.th/th/images/stories/book/other/ASEAN/ed-building-ASEANcommunity.pdf
[2] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ.
[3] ภคณัฏฐ์ บุญถนอม. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนสตรีเศรษฐบำเพ็ญ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[4] มีชัย ชาญวิรัตน์. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องเวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ (กศ.ม. เทคโนโลยีการศึกษา) สาขาวิชา
เทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[5] กรมวิชาการ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
[6] สุพรรณษา ครุฑเงิน. (2555). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ข้อมูลและสารเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี
และสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[7] ยุทธพิชัย เขาแก้ว. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่ององค์ประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองน้ำส้มวิทยาคม จังหวัพระนคร
ศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.