การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร

Main Article Content

ศรีวิไล นิราราช

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร 2) พัฒนาเว็บไซต์การจัดการสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร และ 3) ศึกษาการยอมรับและนำไปใช้ระบบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย เป็นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประเมินเว็บไซต์ระบบ และกลุ่มผู้ใช้ระบบ จำนวน 18 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อองค์ประกอบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อเว็บไซต์ และแบบสอบถามผู้ใช้ที่มีต่อการยอมรับการนำไปใช้เว็บไซต์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


       ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบระบบการจัดการสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่ 1.1) โมดูลข้อมูลหน่วยงาน 1.2) โมดูลการจัดการการประกันคุณภาพ 1.3) โมดูลจัดการ SAR และ 1.4) โมดูลจัดการผู้ใช้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนำมาใช้พัฒนาระบบ คือเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ในการพัฒนาเว็บไซต์ฐานข้อมูลใช้ Mysql ภาษาที่ใช้เขียนโดย PHP ให้รองรับการแสดงผลบนบราวเซอร์ Firefox, Google chrome 2) ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าเว็บไซต์โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และ
3) การยอมรับและนำไปใช้เว็บไซต์ของผู้ใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Murgatroyd, Stephen and Morgan, Colin.(1994). Total Quality Management and the School. Buckingham: Open University Press.
[2] สุภาวดี ศรีรัตน์. (2558). [ออนไลน์]. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา. [สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2558]. จาก http://www.satitcmu.ac.th/index.php/satitcmu-article/71-
article-other/207-2011-07-21-04-50-38.html.
[3] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2548). การพัฒนารูปแบบกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้โดยอาศัย คอมพิวเตอร์.วิทยานิพนธ์ ปร.ด.(คอมพิวเตอร์) กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
[4] กาญจนา ดงสงคราม วรปภา อารีราษฎร์ และ บดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2558). “การพัฒนาเว็บไซต์ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการสาขาวิชา,” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมและวิศวกรรม ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
[5] ธรัช อารีราษฎร์. (2558). “การศึกษาการรับรู้และทัศนคติในการดำเนินงานกรีนไอทีของบุคลากร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,” ใน การประชุมวิชาการระดับ
ชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 1. มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[6] วินัย โกหลำ. (2555). การพัฒนาเว็บไซต์ระบบสารสนเทศการฝึกอบรม. มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[7] แสงเพ็ชร พระฉาย. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ รป.ด. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[8] สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). [ออนไลน์]. ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. [สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2558]. จาก http://journal.it.kmitl.ac.th/read.php?
article_id=4fc7969f1698b87278000000
[9] วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2558). “การพัฒนาระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการสำหรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,” ใน การประชุมวิชาการ
ระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 1. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.