พฤติกรรมการสอบถามข้อมูลทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

Main Article Content

บุญยฤทธิ์ ศรีปาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการข้อมูลทางการแพทย์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ 2) ศึกษารูปแบบคำถามข้อมูลศูนย์บริการทางการแพทย์ กลุ่มข้อมูลสำคัญในการวิจัยนี้ประกอบไปด้วยรูปแบบข้อมูลคำถาม ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคมในปี พ.ศ. 2557 จำนวน 1,020 ชุดคำถามโดยจะพิจารณาคัดเลือกจากคำถามที่เกิดขึ้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไชต์ อิเมล และโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่มีการติดต่อโดยตรงมายังโรงพยาบาลซึ่ง มีประเด็นคำถามที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบความต้องการทางการแพทย์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการทดสอบความแตกต่างระหว่างความถี่โดยใช้ Chi-square test


ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนมากเพศหญิงมีจำนวนคำถามมากกว่าเพศชาย และ 2) เพศชายและเพศหญิงมีรูปแบบคำถามที่ต้องการข้อมูลเพื่อความเข้าใจทางการแพทย์ ไม่แตกต่างกัน เพศชายและเพศหญิงต่อศูนย์บริการทางการแพทย์ไม่แตกต่างกัน แต่ศูนย์บริการทางการแพทย์มีรูปแบบคำถามแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยสารสนเทศและการสือสารในครัวเรือน พ.ศ. 2556. รายการสถิติแห่งชาติ, สํานักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์ราชการ
เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กทม.
[2] Kotler Philip and Armstrong Gary, (2013). Principles of Marketing 15th Global Edition: Pearson.
[3] Priyanka Rawal, (2013). AIDA Marketing Communication Model: Stimulating a purchase decision in the minds of the consumers through a linear progression of steps.
IRC’S international Journal of Multidisciplinary Research Social & Managament Sciences, Volume 1(Issue:1), 37-44.
[4] สมพล เพิ่มพงศ์โกศล. (2554). การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinarytract infection). เอกสารประกอบการสอนหมายเลข 1, หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์
รพ.รามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.