การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม

Main Article Content

สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์

บทคัดย่อ

         การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดียด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการเรียนสื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality) และ 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของ สื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ


     ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นมีค่า 85.16/81.45 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น มีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.51 คิดเป็นร้อยละ 51.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] สุพรรณษา ครุฑเงิน. (2555). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[3] สยามรัฐ บุตรศรี. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การเขียนแบบเบื้องต้นสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[4] พะวงรัก อินทรธนู. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การเพาะเห็ดตามหลักสูตรการเกษตร เพื่ออาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาการ
ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
[5] อาทิตยา บุญเกิด. (2557). การสร้างบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับเทคโนโลยีผสานความเป็นจริง วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้งานคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี,มหาวิยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[6] ทรงพล ขันชัย. (2554). การพัฒนาแบบจำลองเพื่อการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม กรณีศึกษาแบบหลายมาร์คเกอร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[7] นวรัตน์ แซ่โคว้. (2553). การสร้างบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบความจริงเสมือนเรื่องการแนะนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านเทคโนโลยี
อินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
[8] สุรส เนื่องชมภู. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียวิชา คณิตศาสตร์ เรื่องพื้นฐานทาง เรขาคณิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.