แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

Main Article Content

กาญจนา ดงสงคราม

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 2) ศึกษาผลการทดลองใช้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3) เพื่อศึกษาผลการยอมรับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรม และ แบบสอบถามการยอมรับและนำไปใช้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ผู้วิจัยได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แนวคิดหลักสูตร Intel Easy Steps คือ การสืบค้นข้อมูลจาก Internet ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (S) การคำนวณระยะทางด้วย Excel ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ (M) การออกแบบโบรชัวร์ ใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม (E) และการนำเสนอผลงานใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอ (T)  2) ผลการทดลองใช้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น โดยผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการยอมรับและนำไปใช้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น  นำไปขยายผลเผยแพร่อบรมครู 12 รุ่น จำนวน 539 คน อบรมให้กับชุมชน 2 รุ่น จำนวน 79 คน และนำไปจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 รุ่น จำนวน 296 คน หลักจากนั้นได้จัดสัมมนาเพื่อสะท้อนผลการยอมรับและนำไปใช้ของกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ พบว่า การยอมรับและนำไปใช้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร Executive Journal, 33(2), 49-56 .
[2] อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2558). สะเต็มศึกษา (STEM Education). สืบค้นจาก http://www.brk.ac.th/brkacth_index/web1/web/mainfile/XRsj0MSWyD17.pdf
[3] เขมวดี พงศานนท์. (2557). STEM EDUCATION. การปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ สควค.ระดับปริญญาโททางการศึกษา (ประเภท Premium) ปีการศึกษา 2557 (หน้า 1-4). โรงแรมเอวัน
เดอะ รอยัล ครูส พัทยา จังหวัดชลบุรี: สสวท.
[4] สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. สืบค้นจาก http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_files/Integrated_Instruction.pdf
[5] น้ำฝน คูเจริญไพศาล, กิ่งแก้ว แก้วทิพย์, คุณัญญา นงค์นวล, และปิยลักษณ์ หะริตะวัน. (2560). ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การ
แปรรูปน้ำยางพารา ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM), วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 23-37.
[6] สุพรรณี หมุนรอด และ จุไรรัตน์ สุดรุ้ง. (2559). การศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนแบบ STEM ในโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี, วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา OJED, 11(4), 93 – 105.
[7] วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). ความรู้และความเข้าใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบูรณาการการสอนสะเต็มศึกษา ด้วยศิลปะ และจริยธรรม (ESTEAM): กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม), วารสารเกษมบัณฑิต, 17(2), 97-115.
[8] เบญจกาญจน์ ใส่ละม้าย และ ชลาธิป สมาหิโต. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่อง อาชีพในท้องถิ่น
จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(2), 104-110.
[9] จารีพร ผลมูล, สุนีย์เหมะประสิทธิ์ และเกริก ศักดิ์สุภาพ. (2558). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEAM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 : กรณีศึกษา ชุมชนวังตะกอ จังหวัด
ชุมพร ใน The National Graduate Research Conference. (น.1567-1667). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[10] จำรัส อินทลาภาพร, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่, และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสาร
Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 62-74 .
[11] Best, John. W. (1997). Research in Education. 3nd. Ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice-Hell,Inc.
[12] วรปภา อารีราษฎร์ และสมเจตน์ ภูศรี. (2558). การส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบท.
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(3), 149-159.