การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

Main Article Content

สุธิรา จันทร์ปุ่ม
พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม
แพรตะวัน จารุตัน

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้โมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่มางานพระราชทานปริญญาบัตรในปี พ.ศ.2558  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้โมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) โมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาขึ้น สามารถแสดงข้อมูลสถานที่ ระบุตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้งาน แสดงข่าวประชาสัมพันธ์จากเว็บไซต์ และค้นหาข้อมูลสถานที่ได้ และ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สํานักงานจังหวัดสกลนคร, กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี (พ.ศ.2557-2560). สกลนคร : สํานักงานจังหวัดสกลนคร.
[2] สุวิวิชญ์ อินทรภิรมย์. (2554). ระบบนำทางการท่องเที่ยวของจังหวัด สุราษฎร์ธานีด้วยกูเกิ้ลแมพ เอพีไอ บนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] ธรรมชนก คำแก้ว. (2555). รายงานผลการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเภทโบราณสถาน : กรณีศึกษา พระอารามหลวงใน
เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
[4] อิสรา ชื่นตา, จารี ทองคำ, และจิรัฎฐา ภูบุญอบ. (2557). การค้นคืนสารสนเทศการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย โดยใช้ออนโทโลยี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ,
10(2), 15-25.
[5] นฤพนธ์ เพ็ชรพุ่ม, ทัศนีย์ คัดเจริญ, วิชญา รุ่นสุวรรณ์, และนัฏฐพันธ์ นาคพงษ์. (2558). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] พิสุทธา อารีราษฏร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
[7] ศศิพิมพ์ ปิ่นประยูร, ศศิมาพร ภูนิลามัย, กาญจนา ผาพรม, และสุขสันต์ พรมบุญเรือง. (2558). แอพพลิเคชั่นแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การ
ประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ ภูมิภาคอาเซียน. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
[8] โสภาวดี โชติกลาง, ณรงค์ พลีรักษ์, แก้ว นวลฉวี, และนฤมล อินทรวิเชียร. (2558). เว็บแมพเซอร์วิสสำหรับการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก : ชลบุรี ระยอง จันทบุรี
ตราด. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), 54-63.
[9] สุรสีห์ น้อยมหาไวย, และปานจิตร์ หลงประดิษฐ์. (2559). แอพพลิเคชั่นรับรู้และแสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี ตามการจำแนกกลุ่มของผู้ใช้ด้วยกูเกิ้ลแมพเอพีไอ บนมือถือ
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 387-394.
[10] ภูมินทร์ ฮงมา, ระวิวร ฮงมา, ธนพงษ์ นรสาร, และอสิราภรณ์ ตรีกูล. (2558). การพัฒนาแอปพลิเคชั่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว นมัสการพระธาตุประจำ วันเกิดทั้ง 7 วัน @นครพนม. การประชุม
วิชาการระดับประเทศทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 159-164.