การทำเหมืองข้อความสำหรับการแก้ปัญหาข้อร้องเรียน เกี่ยวกับการบริการลูกค้าที่บริษัทการสื่อสาร

Main Article Content

วัณณุวรรธน์ อินทรผล
วฤษาย์ ร่มสายหยุด

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบค้นวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการตัดคำไทยแบบยาวที่สุดมาช่วยในการวิเคราะห์หรือค้นหาคำสำคัญโดยวิธีการทำเหมืองข้อความ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลข้อร้องเรียนปัญหาการใช้งานบริการเสริมโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 2,000 รายการในปี 2558


           ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้เทคนิคทางเหมืองข้อความสืบค้นความสัมพันธ์ของคำจากข้อร้องเรียนลูกค้าได้ผลลัพธ์ของคำที่เป็นข้อผิดพลาด (Error) ของประเภทปัญหา เพื่อนำไปสู่การหาวิธีการตรวจสอบต่อไป 2) ผลจากการตัดคำแบบยาวที่สุดได้ผลเป็นคำที่บ่งชี้วิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อเลือกใช้เครื่องมือในการแก้ไขได้อย่างถูกต้องกับประเภทปัญหา 3) จากวิธีการข้างต้นสามารถนำเสนอ สาเหตุข้อผิดพลาด ที่บ่งชี้วิธีการที่เร็วที่สุดในการแก้ไขปัญหา และข้อแนะนำในการเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง ลดระยะเวลาในการตรวจสอบจากเดิมแก่ช่างเทคนิคจากระบบงานเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] พัชราภรณ์ สิทธิคำฟู และ มาลีรัตน์ โสดานิล. (2015). การจำแนกหมวดหมู่ข้อความข่าวสารภัยพิบัติอุทกภัยจากแหล่งข้อมูลสาธารณะภาษาไทย (The Eleventh National Conference on
Computing and Information Technology). สืบค้นจาก http://202.44.34.144/nccitedoc/admin/nccit_files/NCCIT-20150710112009.pdf
[2] กิตติศักดิ์ สุมามาลย์. (2012). การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล. (สารนิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิศวกรรมเว็บ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
กรุงเทพมหานคร.
[3] ทิพย์ธิดา วงศ์พิพันธ์. (2013). การใช้เหมืองข้อมูลช่วยในการตัดสินใจการให้สินเชื่อ กรณีศึกษา: บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน). (งานศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญา
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพมหานคร.
[4] นฤป รักงาม. (2007). ระบบวิเคราะห์คำถามและ ตอบปัญหาการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิทยาการ
คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.