การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน บนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

Main Article Content

วรปภา อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย จำนวน 28 คน เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาสื่อ ปีการศึกษา 1/2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กระบวนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นศึกษาบริบทและการเลือกหัวข้อ 2) ขั้นตอนการเตรียมงาน 3) ขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน 4) ขั้นตอนหลังการสร้างชิ้นงาน 5) ขั้นตอนการเผยแพร่ชิ้นงาน และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2559). แนวโน้มของการใช้งาน Google Apps ในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา. สืบค้นจาก http://cpre.
kmutnb.ac.th/esl/2014/08 /google-apps-trends-in-higher-education
[2] สว่างนภา ต่วนภูษา. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งในสถาบันอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,
ปทุมธานี.
[3] สมฤทธิ์ ขจรโมทย์. (2559). การบริหารจัดการการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี
บัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[4] เดชพล ใจปันทา. (2559). กิจกรรมการส่งเสริมครูประยุกต์ใช้สื่อประสมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม, มหาสารคาม.
[5] วรปภา อารีราษฎร์. (2558). การพัฒนานวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
[6] ธรัช อารีราษฎร์. (2558). รูปแบบการดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับสถาบันอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
[7] วีระศักดิ์ ปัตตาลาโพธิ์. (2558). “การศึกษาการยอมรับรูปแบบการเตรียมความพร้อมสถานศึกษาเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต,” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ
การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. หน้า 65-71.
[8] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.