รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

อรพร ภูมิลี

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย  คือ ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 9 คน ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 คน ครูหรือผู้อำนวยการจากสถานศึกษาจำนวน 3 คน และนักวิชาการสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 คน โดยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาด้านการศึกษา สาขาวิจัยการศึกษาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผู้มีวิทยฐานะระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  พบว่า ประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก ได้แก่  ส่วนที่ 1  นโยบาย ประกอบด้วย 1) นโยบายพระราชบัญญัติการศึกษา 2551 2)นโยบายสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3)นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 4)นโยบายโรงเรียนบ้านขอนแก่น 5)นโยบายกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ส่วนที่ 2 หลักการ/ทฤษฎี ประกอบด้วย 1)ทฤษฎีการเรียนรู้ 2) การวัดประเมินผล 3)กระบวนการกลุ่ม 4) การยอมรับเทคโนโลยี (TAM) ส่วนที่ 3 การจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา  2) เทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ส่วนที่ 4 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ส่วนที่ 5 นวัตกรรม และส่วนที่ 6 ตัวบ่งชี้  ทั้งนี้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนได้แก่  ดังนี้ ขั้นที่1 การทบทวนความรู้เดิม เพื่อแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ /กิจกรรมเร้าความสนใจและทำแบบทดสอบก่อนเรียน ขั้นที่2 การแสวงหาความรู้ใหม่ โดยการใช้สื่อนวัตกรรมบทเรียนการ์ตูน ส่วนขั้นที่3 การศึกษาทำความเข้าใจ / ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นที่4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มและขั้นที่5 การสรุปจัดระเบียบความรู้  ประกอบด้วย  3 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นการคิดเดี่ยว (Think) 2) ขั้นการคิดคู่ (Pair) 3) ขั้นการนำเสนอผลงาน (Share) ขั้นที่6 การปฏิบัติ และ/หรือ แสดงผลงาน เพื่อให้นักเรียนนำเสนอผลงานคัดเลือกผลงานนำเสนอหน้าชั้นเรียน  และ ขั้นที่7 การประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อให้การบ้าน/คำถาม/กิจกรรมท้าทาย/กิจกรรมส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้จริงและทำแบบทดสอบหลังเรียน


2) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความเหมาะสมของรูปแบบ (ค่าเฉลี่ย 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54)  ด้านความเหมาะสมด้านนวัตกรรมการเรียนรู้บทเรียนการ์ตูน (ค่าเฉลี่ย4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) ความเหมาะสมขององค์ประกอบกรอบนโยบาย (ค่าเฉลี่ย4.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) ความเหมาะสมขององค์ประกอบหลักการ ทฤษฎี  (ค่าเฉลี่ย4.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) ความเหมาะสมขององค์ประกอบการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย4.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) และ ความเหมาะสมของตัวชี้วัด (ค่าเฉลี่ย4.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[2] ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟ พริ้น จำกัด.
[3] วรปภา อารีราษฎร์. (2557). นวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี บัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
[4] วิญญู อุตระ. (2559). การส่งเสริมครูพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[5] สิทธิชัย วรโชติกำจร. (2558). กรอบแนวคิดรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการเป็นฐานด้วยเทคนิค 4MAT ร่วมกับ
กิจกรรมแบบ Mentor Coached Think-Pair Share ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการนวัตกรรม
สื่อสารสังคม:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 3(2), 6-15.
[6] อภิชาติ เหล็กดี. (2558). การพัฒนากิจกรรมค่ายอาสาโดยใช้วัฏจักร PAOR เพื่อการเรียนรู้สื่อ อีแอลทีวี สาหรับโรงเรียนขนาด
เล็กเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,
มหาสารคาม.
[7] อาภรณ์ พลอ่อนสา. (2556). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนการ์ตูน เรื่อง การปลูกผักสวนครัว กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม, มหาสารคาม.
[8] เอก กนกพิชญ์กุลคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษา. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 8(1), มกราคม-มิถุนายน 2561.