ผลการสังเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร

Main Article Content

อภิชาติ เหล็กดี

บทคัดย่อ

            งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชนของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร จำนวน 30 คน 2) สังเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกิจกรรมที่สังเคราะห์ขึ้น


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชน ในด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย แหล่งเรียนรู้โดยผู้สอน และแหล่งเรียนรู้จากชุมชน ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ศึกษาปัญหาจากชุมชน เรียนรู้เนื้อหาจากผู้สอนค้นหาเรียนรู้จากสื่อที่จัดเตรียมไว้ร่วมวางแผนการบริการวิชาการ สรุปแผนการบริการวิชาการ นำเสนอแผนบริการวิชาการและบริการวิชาการสู่ชุมชน และ ด้านวิธีการเรียนรู้ คือ เรียนรู้แบบกลุ่ม 2) กิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย องค์ประกอบของกิจกรรม 3 ส่วน คือ สื่อและแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และ เป้าหมายกิจกรรม  และ 3) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สุมาลี ชัยเจริญ และอิศรา ก้านจักร. (2549). เทคโนโลยีการศึกษา:จากเทคโนโลยีถ่ายทอดมาสู่เทคโนโลยีทางปัญญา. วารสารเทคโนโลยีทางปัญญา, 1(1) 3-7.
[2] ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] Duch, B., Groh, S. and Allen, D. (eds.). (2001). The power of problem-based learning.USA : Stylus Publishing.
[4] Barrows,H.S. and Tamblyn,R.M. (1980). Problem-based learning: an approach to medical education.Springer Publishing, New York, N.Y.
[5] ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2557). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบันการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
[6] วรปภา อารีราษฎร์ และคณะ. (2556). รูปแบบกิจกรรมค่ายอาสาเครือข่ายอีดีแอลทีวีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,
[7] คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2555). แผนยุทธศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พ.ศ. 2555-2561. มหาสารคาม :คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ.
[8] ขัตติยา พันธุ์ทรัพย์สาร. (2546). ความต้องการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
[9] อภิชาติ เหล็กดี. (2557). การสังเคราะห์รูปแบบกิจกรรมค่ายอาสาเพื่อการเรียนรู้สื่ออีดีแอลทีวี สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่าย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.