การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ต เรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สวียา สุรมณี

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ต เรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาคุณภาพของแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ต เรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ต เรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มทดลองที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4/2โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ต เรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศ สำหรับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบประเมินคุณภาพแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ตและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) แอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ต เรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ตที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วงหทัย ตันชีวะวงศ์. (2557). บทสังเคราะห์จากงานวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น. ค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557. จาก 203.131.210.100/research/wp-
content/uploads/2014/01/ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น.pdf
[2] โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม. (2557). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม พุทธศักราช 2557. กาฬสินธุ์.
[3] ศักดิ์ดา เตทะรวง. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแอพพลิเคชั่น. ค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2557. จาก http://th.wikipedia.org/wiki/.
[4] มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[5] ดาราวรรณ นนทวาสี, วิวัฒน์ มีสุวรรณ์, เอกสิทธิ์ เทียมแก้ว. (2557). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ : กรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4
โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[6] นัฏฐาพร นนศรีราช. (2556). ข้อมูลเกี่ยวกับระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2557. จาก http://potinimi.blogspot.com/2013/02/1_16.html
[7] กรณิการ์ ชูตระกู ลธรรม. (2555). การพัฒนาโปรแกรม เล่นดนตรีไทยบนแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศแขนงวิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[8] Chen, F., J. Sager, G. Corbitt and S. Kent. (2008). The Effects of Using a Tablet PC on Teaching and Learning Processes. Retrieved Jun 15, 2014, from
http://aisel.aisnet.org/amcis 2008 /262/
[9] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
[10] วิลัยพร ไชยสิทธิ์. (2554). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ราชบุรี : สำนักวิทยาบริการและ
เทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง.