แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เสรี วงษ์มณฑา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชุษณะ เตชคณา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การท่องเที่ยว, มรดกวัฒนธรรม, อยุธยา, development, tourism, cultural heritage, Ayutthaya

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเสนอแนวทางเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน (SWOT) ของการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนำมาจับคู่วิเคราะห์ (TOWS Matrix) เพื่อวางแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 22 คน ได้แก่ กลุ่มผู้แทนภาครัฐ กลุ่มผู้แทนภาคเอกชน และกลุ่มผู้แทนชุมชน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้ 1) การส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรมรดกวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว ควรมีการรวบรวมองค์ความรู้และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการเก็บรวบรวมไว้ นำเสนอในรูปแบบของการศึกษาทางการท่องเที่ยว การอนุรักษ์แหล่งมรดกวัฒนธรรมในเกาะพระนครศรีอยุธยา การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวจัดเส้นทางท่องเที่ยวมากกว่าหนึ่งวัน 2) การพัฒนาคุณภาพสินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยว ควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เพื่อจัดบริการเส้นทางท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ การให้ความร่วมมือกับรัฐบาล แก้ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค พัฒนาทักษะการใช้ภาษาของผู้ประกอบการขนาดเล็ก การพัฒนาระบบฐานข้อมูลท่องเที่ยวโดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประกอบการให้ข้อมูลทางการท่องเที่ยว 3) การส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวเพื่อเป็นศูนย์กลางอาเซียน ควรมีการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวโดยต้องอาศัยการจดจำของนักท่องเที่ยวผ่านสื่อที่มีเอกลักษณ์ การพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ศูนย์กลางวัฒนธรรมอาเซียน 4) การยกระดับการมีส่วนร่วมทางสังคมในแหล่งมรดกวัฒนธรรม ควรมีการส่งเสริมศักยภาพชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว การยกระดับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และ 5) การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม ควรมีการพัฒนาภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการท่องเที่ยว การพัฒนาระบบขนส่งและการจราจร

 

Guidelines on Cultural Heritage Tourism Development in Phra Nakhon Si Ayutthaya.

The purposes of this research were 1) to study and analyze inside and outside environments of cultural heritage tourism in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province and 2) to present guidelines on cultural heritage tourism development in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province using qualitative research procedures in order to study inside and outside environments (SWOT) of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, conduct a matching analysis (TOWS Matrix) and lay down guidelines on cultural heritage tourism development in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. The sample group consisted of 22 people involved in tourism of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, namely representatives from governmental sectors, private sectors and community representatives. Quasi-structured interview was used for content analysis.

The findings showed that guidelines on cultural heritage tourism development in Phra Nakhon   Si Ayutthaya Province were as follows: 1) promoting and reviving cultural heritage tourism resources by gathering knowledge and historical evidence used for tourism education, conserving cultural heritage sites around Phra Nakhon Si Ayutthaya Island, developing tourism activities by arranging longer than-one-day tourism route; 2) developing product quality and tourism service in terms of tourism officers responsible for providing tourism routes systematically, collaborating with governmental sectors, solving problems related to profiteering consumers, developing language skills of entrepreneur of small business, developing database system which uses information technology system for giving tourism information; 3) promoting tourism marketing in order to become an ASEAN tourism hub by making tourists remember positive tourism public image via unique media, developing tourism into ASEAN cultural hub; 4) enhancing social participation in cultural heritage by promoting community potential for supporting tourists, enhancing tourists’ security; and 5) developing public utility system and environment, namely tourism landscape, public utility and transport systems to increase tourists’ convenience.

Downloads