การพัฒนาคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสำหรับครอบครัว

ผู้แต่ง

  • สิงหา จันทริย์วงษ์

คำสำคัญ:

การจัดการต้อกระจกแบบบูรณาการณ์, การผ่าตัดต้อกระจก, ระบบสุขภาพ สุขภาพอำเภอ

บทคัดย่อ

           การวิจัย เรื่อง การพัฒนาคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสำหรับครอบครัว มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เพื่อสร้างและประเมินคุณภาพคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสำหรับครอบครัว 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสำหรับครอบครัว โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60–79 ปี จำนวน 394 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มี 2 ประการ คือ 1) องค์ประกอบภายใน ได้แก่ สุขภาพกายและสุขภาพจิต 2) องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การศึกษาภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม และสวัสดิการคุ้มครอง ในการสร้างและประเมินคุณภาพคู่มือเกี่ยวกับเนื้อหาด้านการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ การส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุโดยครอบครัวอย่างหลากหลาย การส่งเสริมสวัสดิการคุ้มครองผู้สูงอายุ การบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และการศึกษา วิจัย ประเมินผลโครงการผู้สูงอายุ จากการประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อคู่มือในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.86) ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้พัฒนาคู่มือสำหรับครอบครัวสามารถนำไปใช้ได้ง่าย ควรจัดอบรมให้กับผู้ดูแลใกล้ชิดผู้สูงอายุ บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการวิจัยในรูปแบบอื่น

คำสำคัญ : คู่มือ ผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตครอบครัว

          This research had three objectives, 1) to study and analysis the quality of life of the elderly domain, 2) to create and examine quality of handbook, 3) to study the satisfaction of the elderly to the handbook, through used of quantitative research. The sample size was about 394, there were the elderly (60-70 years), who live in Surin province A questionnaire was used for collecting data, and was analyzed by basic statistic; frequency, percentile, mean, and standard deviation.

          Conclusions: the research is found that the quality of life of the elderly has two aspects; 1. internal domain; physical health and mental health, 2. external domain, there are economic, social and culture, education and local wisdom, environment, and social welfare. Handbook is created and examined on the content of elderly preparing, elderly activity supported by family, social welfare supported, management administration and personal development for the elderly, and study, research, and project evaluation about the elderly. Satisfaction of the elderly to the handbook is the highest, (X= 4.86). Suggestion: the handbook should be easy for the elderly care taker training, personal office, and government office.

Key words : Handbook, Elderly, Quality of Life, Family, Elderly Care Taker

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)