การพัฒนาระบบและกลไกการดำรงอยู่ของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์

ผู้แต่ง

  • สืบศักดิ์ สิริมงคลกาล สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรมวิจัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิรุณ ตั้งเจริญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ระบบและกลไกการดำรงอยู่ของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์การดำรงอยู่ของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ทั้งในด้านการออกแบบ  กระบวนการผลิต กระบวนการเผา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษาแนวคิดของช่างปั้นพื้นบ้าน ช่างก่อเตา  ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ ศิลปิน ที่มีต่ออิทธิพลของระบบทุนนิยมกับการเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน  และ 4) เพื่อค้นหาแนวคิด ทฤษฎี ที่สามารถพัฒนาระบบและกลไกการดำรงอยู่ของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กับกลุ่มประชากรคือ ปราชญ์ชาวบ้าน ช่างปั้น ช่างก่อเตา ศิลปิน นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ลูกจ้าง ในชุมชนด่านเกวียน

          ผลการศึกษาพบว่า 1) เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนดำรงอยู่ได้ เพราะปัจเจกบุคคลและชุมชนร่วมกันเลือกเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ให้เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และศิลปวัฒนธรรมในชุมชนด่านเกวียน 2) พัฒนาการของภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ทั้งทางด้านการออกแบบ กระบวนการผลิต และกระบวนการเผา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถูกขับเคลื่อน เปลี่ยนแปลง ด้วยอิทธิพลและปัจจัยสำคัญคือ อิทธิพลจากปัจจัยภายนอก และกลุ่มคนตุลา 3) ระบบทุนนิยมเข้ามาเปลี่ยนแปลงชุมชนด่านเกวียนให้กลายเป็นชุมชนเชิงพาณิชย์ เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนจึงถูกเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่จากเครื่องมือเพื่อการดำรงชีวิต กลายเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทหน้าที่เชิงพาณิชย์ ที่สร้างเพื่อมุ่งแสวงหาแต่ผลกำไร ระบบทุนนิยมจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้ชุมชนเลือกละทิ้งเครื่องปั้นดินเผารูปแบบดั้งเดิม 4) แนวคิดการเสริมคุณค่าให้กับปัจเจกบุคคล แนวคิดเสริมคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และแนวคิดการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต จะช่วยขับเคลื่อนระบบและกลไกการดำรงอยู่ของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนให้ยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต

References

คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2546). สังคมและ
วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. แนวความคิด
พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม. ม.ป.ท., ม.ป.ป.
เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน. (2546). นครราชสีมา : หจก.ทัศน์ทองการพิมพ์.
ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์
พับลิชชิ่งจำกัด.
ไชยพร เกิดมงคล. กลุ่มคนตุลา. สัมภาษณ์. 8 สิงหาคม 2559.
ณัฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. (2553). อัตลักษณ์ชุมชน : อัตลักษณ์และการพัฒนาเพื่อเคลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่
ของชุมชน. กรุงเทพฯ: นำศิลป์โฆษณา จำกัด.
เด่น รักซ้อน. (2553). การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเนื้อดินและการเคลือบ เครื่องปั้นดินเผาด่าน
เกวียนแก่ผู้ประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผาชุมชนด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา.
นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ทวี รัชนีกร. กลุ่มคนตุลา และศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ จิตรกรรม พ.ศ.2548. สัมภาษณ์. 9 มีนาคม 2559.
ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2547). พะเยาท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์กับความเป็นท้องถิ่น : หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์กับการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แผนพัฒนาสามปี(พ.ศ.2557-2559) เทศบาลตำบลด่านเกวียน อำเภอโคชัย จังหวัดนครราชสีมา. ม.ป.ท.,
ม.ป.ป.
ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2551). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คำสมัย.
วัฒนา ป้อมชัย. ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์. 9 พฤษภาคม 2559.
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน. สนทนากลุ่ม. 23 พฤศจิกายน 2559.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา วิทยาลัยครูนครราชสีมา. (2530). ข้อมูลพื้นฐานบ้านด่านเกวียน
ตำบลท่าอ่างอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สมบูรณ์ออฟเซ็ทการพิมพ์.


โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล. (2556). ตลาดย้อนยุคสามชุก : การเมืองเรื่องพื้นที่และธุรกิจแห่งการถวิลหา
อดีต. กรุงเทพฯ : วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ปีที่ 14 ฉบับที่
2(28) มกราคม-มิถุนายน.
สมาน แสงทอน. กลุ่มคนตุลา. สัมภาษณ์. 12 กันยายน 2559.
สิทธิเดช โรหิตะสุข. (2552). กลุ่มศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
สุชาดา น้ำใจดี. (2552). กระบวนการพัฒนาไปสู่ชุมชนการเรียนรู้. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล ปัญญาวชิระ. กลุ่มคนตุลา. สัมภาษณ์. 24 เมษายน 2559.
สุวณีย์ เนตรวงษ์. กลุ่มคนตุลา. สัมภาษณ์. 8 สิงหาคม 2559.
หมี สิงห์ทะเล. 2559. ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์. 14 กรกฎาคม 2559.
อมรา พงศาพิชญ์. (2534). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ สอนนอก. (2549). ความสามารถในการแข่งขันส่งออกของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน. วารสาร
วิจัย มข.(บศ.)6 : ฉบับพิเศษ.
อยู่ เปลี่ยนกระโทก. ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์. 14 กรกฎาคม 2559.
อิงอร เพ็ชรเขียว. (2543). ดินสร้างสรรค์จินตนาการและตำนานแห่งชีวิต “วัฒนา ป้อมชัย” ต๋อง ด่าน
เกวียน ประติมากรแห่งที่ราบสูง. ม.ป.ท.
Teachers at the Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Political Science, Chulalongkorn
University. (2003). Society and Culture. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Teachers at the Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Humanities, Chiang Mai
University. Basic Concepts in Social and Culture. (n.p.), (n.d.).
Dankwian’s Pottery, Wisdom of Local Esan. (2003). Nakhon Ratchasima: Thas Thong Printing Ltd. Part.
Chai Phothisita. (2004). Sciences and Arts of Qualitative Research. Bangkok: Amarin Printing &
Publishing Public Co., Ltd.
Chaiporn Kerdmongkhol. October Group. Interview. 8 August 2016.
Nattapong Jitnirat. (2010). Community Identity: Identity and Development for Changing Position
Community. Bangkok: Namsilp Advertising Co., Ltd.
Den Raksorn. (2010). Development and Technology Transfer of Clay Body and Glaze on Dan Kwian
Pottery Tradesman, Nakhonratchasima Province. Nakhonratchasima: Rajamangala
University of Technology Isan.
Tawee Rujaneekorn. October Group, National Artist in Visual Arts (Painting) 2005. Interview. 9 March
2016.
Preecha Kuwinpant. (2004). Phayao among Globalization and Its Localness: One Tambon One
Product and Tourism. Bangkok: Chulalongkorn University.
Three-year Development Plan (2014-2016) Dan Kwien Municipality, Chok Chai District, Nakhon
Ratchasima. (n.p.), (n.d.).
Yos Santasombat. (2013). Human and Culture. 4th Printing. Bangkok: Thammasat University Press.
Rattana Buosonte. (2008). Qualitative Research in Education. Bangkok: Kam Samai Printing.
Wattana Pomchai. Local Philosopher. Interview. 9 May 2016.
Learning Exchange forum on Dankwian’s Pottery Wisdom. Group Discussion. 23 Nobember 2016.
Nakhon Ratchasima Culture Center, Nakhon Ratchasima Teacher College. (1987). General Information
of Ban Dankwian, Tha Ang Sub-District, Chockchai District, Nakronratchasima. Nakhon
Ratchasima. Somboon Printing.
Sojiluk Kamonsakdavikul. (2013). Samchuk, The Retromarket : The Politics of Space and The
Business of Nostalgia. Bangkok: Institute of Culture and Arts Journal Srinakharinwirot
University. Volume 14 No 2(28) January-June.
Saman Saengthon. October Group, Interview. 15 September 2016.
Sittidech Rohitasuk. (2009). Art and Culture Groups in Thailand. Bangkok. (n.p.).
Suchada Namjaidee. (2009). Development Process to the Learning Society. Khon Kaen: Graduate
School. Khon Kaen University.
Supang Chantavanich. (2011). Sociological Theory. 4th Printing. Bangkok: Chulalongkorn University
Press.
Surapol Phanyawachira. October Group. Interview. 24 April 2016.
Suwanee Natewong. October Group. Interview. 8 August 2016.
Mee Singhathale. 2016. Local Philosopher. Interview. 14 July 2016.
Amara Pongsapich. (1991). Culture, Religion, and Race: Anthropological Analysis of Thai Society.
2nd Printing. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Aonanong Sonnok. (1996). The Competitiveness for Export of Dankwian’s Pottery. KKU Research
Journal (Graduate Studies). 6: Special Issue.
Yu Pleankratok. Local Philosopher. Interview. 14 July 2016.
Engaon Phetkeaw. (2000). Soil creates Imagination and a Living Legend “Wattana Pomchai” Thong
Dankwian - The sculptor of the plateau. (n.p.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-21