การพัฒนากิจกรรมฟ้อนไทยพวนบำบัด ด้วยหลักการแอโรบิค เพื่อแก้ปัญหาของผู้สูงอายุที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี

ผู้แต่ง

  • ญาดา จุลเสวก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ระวิวรรณ วรรณวิไชย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุมนรตรี นิ่มเนติพันธ์ สาขาสันทนาการ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ฟ้อนไทยพวนบำบัด, ผู้สูงอายุ, คุณภาพการนอนหลับไม่ดี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาในประเด็นการพัฒนากิจกรรมฟ้อนไทยพวนบำบัด ด้วยหลักการแอโรบิค เพื่อแก้ปัญหาของผู้สูงอายุที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดีและเพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-79 ปี ที่มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีจำนวน 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 8 คน กำหนดแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกลุ่มทดลองศึกษาผลก่อนและหลังการทดลอง ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการทดลองจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติ t-test ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปว่า 1) การพัฒนากิจกรรมฟ้อนไทยพวนบำบัด ด้วยหลักการแอโรบิค เพื่อแก้ปัญหาของผู้สูงอายุที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี แบ่งรูปแบบกิจกรรมออกเป็น 3 ช่วง ตามหลักการของแอโรบิค ได้แก่ ขั้นอบอุ่นร่างกาย(Warm up) ขั้นแอโรบิคหรือขั้นงาน (Aerobic Workout) และขั้นลดงานเพื่อปรับสภาพ (Cool Down) ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนิน รวมเป็นจำนวน 24 ครั้ง ครั้งละ 20 – 40 นาที จากการพิจารณาประสิทธิภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ สรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าการพัฒนากิจกรรมฟ้อนไทยพวนบำบัด ด้วยหลักการแอโรบิคมีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี 2) พบว่า ผลการทดลองระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรม กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง สรุปได้ว่ากิจกรรมฟ้อนไทยพวนบำบัด ด้วยหลักการแอโรบิคมีผลทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

References

คณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2557). โรคนอนไม่หลับ (Insomnia). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560, จาก http://www.sleepcenterchula.org/index.php/th/2014-12-23-13-58-44/item/ 65-insomnia
จักรกริช กล้าผจญ. (2555). เวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2560, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้าน นาฏศิลป์ไทย โดยใช้โมเดลซิปปา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 18(2): 73.
พัชรี บอนคำ. (2560). อันตรายจากการนอนไม่หลับ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560, จาก http:// www.thaihealth.or.th/Content /36899-อันตรายจากการนอนไม่หลับ.html
Brassington, Glen Sidney. (1993). Relationship between aerobic exercise and sleep quality in elderly individuals. Master’s Thesis San Jose State University.
Kathryn J.Reid และคณะ. (2010). Aerobic exercise improves self-reported sleep and quality of life in older adults with insomnia. Department of Neurology, Northwestern University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-21