กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงตรัวของครูธงชัย สามสี

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา ทองนำ ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณรุทธ์ สุทธจิตต์ ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงตรัวของครูธงชัย สามสี วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ครูธงชัย สามสี เป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านกันตรึมได้รับการถ่ายทอดด้วยวิธีการแบบมุขปาฐะจากครูดนตรีกันตรึมหลายท่านของหมู่บ้านวัฒนธรรมดงมัน เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์จนสามารถพัฒนาตัวเองไปสู่ความเป็นเลิศทางการบรรเลงตรัวและการถ่ายทอด ลูกศิษย์ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงตรัวในขณะที่เป็นนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ 1) ไม่มีพื้นฐานการบรรเลงตรัวมาก่อน และ 2) มีพื้นฐานการบรรเลงตรัวมาบ้างแล้ว ลักษณะความรู้หรือทักษะการบรรเลงตรัวของผู้เรียนหลังจากได้รับการถ่ายทอดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ระดับพื้นฐาน 2) ระดับขั้นกลาง และ 3) ระดับเพลงชั้นสูง วิธีการสอนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1) วิธีการสอนสำหรับผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการสอนอย่างเป็นลำดับขั้น และ 2) วิธีการสอนสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานมาแล้ว ซึ่งใช้วิธีการต่อเพลงแบบปากเปล่า ทั้ง 2 วิธีการใช้การอธิบายและสาธิต โดยยึดหลักการสอน 4 ประการ คือ 1) เน้นให้ผู้เรียนมีพื้นฐานการบรรเลงที่ดีตามแนวทางของตน 2) สอนตามระดับทักษะของผู้เรียน 3) เน้นให้ผู้เรียนฝึกทักษะปฏิบัติการบรรเลงตรัวให้เข้ากับจังหวะหน้าทับกลอง และ 4) สอนทักษะการบรรเลงโดยใช้บทเพลงจากง่ายไปยาก เนื้อหาสาระที่ครูให้ความสำคัญในการถ่ายทอด คือ พื้นฐานการบรรเลงตรัวเบื้องต้นที่ถูกต้องตามหลักการของครู

References

ขำคม พรประสิทธิ์. (2550). วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคอีสานใต้และภาคกลาง. รายงานวิจัย. ทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2549. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โฆษิต ดีสม. (2544). พัฒนาของกันตรึมบ้านดงมัน ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา(กลุ่มมนุษยศาสตร์)
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2558). วิธีวิทยาการสอนดนตรี. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2737388 วิธีวิทยาการสอน ดนตรี. สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพล นาคะเต. (2555). การศึกษาอัตลักษณ์และกระบวนการถ่ายทอดการขับร้องเพลงทยอยของครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สามสี. (2559). สัมภาษณ์. 5 สิงหาคม 2559
นิพนธ์ กล่ำกล่อมจิตร. (2556). การศึกษาวิธีการถ่ายทอดดนตรีไทยในระบบโรงเรียนและบ้านดนตรีไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นิศา ชูโต. (2545). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: แม็ทส์ปอยท์.
บุษกร สำโรงทอง. (2549). วัฒนธรรมดนตรีไทย ภาคกลาง และภาคอีสานใต้: พิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้. รายงานวิจัย. ทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2549. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปพิชญา เสียงประเสริฐ. (2556). การวิเคราะห์ทัสนมิติและกระบวนการถ่ายทอดดนตรีไทยของครูชนก สาคริก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณราย คำโสภา. (2540). กันตรึม กับเพลงประกอบการแสดงพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์: คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสุรินทร์.
พิมพ์ใจ ศิริสาคร. (2529). วงกันตรึมของชาวอีสานใต้. วิจัยปริญญาบัณฑิต, ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภมรศักดิ์ เกื้อหนองขุ่น. (2556). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงซออู้ของครูฉลวย จิยะจันทน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ภูมิจิต เรืองเดช. (2529). กันตรึม (เพลงพื้นบ้านอีสานใต้). บุรีรัมย์: ศูนย์วัฒนธรรมสหวิทยาลัยอีสานใต้-บุรีรัมย์.
มัชชีวา ทองโสภา. (2552). อาศรมศึกษา : ครูธงชัย สามสี.รายงานวิจัยวิชา Pedagogy in Specific Field. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตติยา มีเจริญ. (2557). “วงกันตรึมคณะน้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์ : การปรับปรนและบทบาทหน้าที่”. ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิศวะ ประสานวงศ์. (2555). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูอุทัย แก้วละเอียด (ศิลปินแห่งชาติ). วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีณา วีสเพ็ญ. (2526). กันตรึม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมจิตร กัลยาศิริ. (2524). การวิเคราะห์เพลงพื้นเมืองและการละเล่นพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สราวุฒิ สีหาโคตร. (2557). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงแคนลายแม่บทของครูสมบัติ สิมหล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุพรรณี เหลือบุญชู. (2545). การศึกษาคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้. สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อุทัย ศาสตรา. (2553). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Abeles, Herold F., Hoffer, Charles R., & Klotman, Robert H. (1995). Foundation of Music Education. 2nd ed. New York : Schirmer Books.
Attig, G. (2531). บันทึกประวัติชีวิตบุคคล : เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ (The Life History : An Integrative, Contextual Research Tool). แปลโดย อรทัย อาจอ่ำ. ชมรมวิจัยเชิงคุณภาพ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kottak, Conrad Phillip. 2013. Anthropology : Appreciating Human Diversity. 15th ed. New York : McGraw-Hill.
Steiner, E. (1988). Methodology of Theory Building. Sydney: Educology Research Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-21