การใช้สารสนเทศในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ

Authors

  • สุจินดา ทองนาค บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี อำเภอจัตุรัส สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย จังหวัดชัยภูมิ
  • มาลี กาบมาลา รองศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด, สารสนเทศสำหรับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์, Strategic planning, Information for supporting strategic management

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและปัญหาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดการใช้สารสนเทศในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ รวมทั้งปัญหาการใช้สารสนเทศ วิธีการศึกษาโดยการวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ และการสัมภาษณ์คณะทำงานศึกษาปัญหาความต้องการและศักยภาพของประชาชน และกลั่นกรองแผนงาน โครงการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์

ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ซึ่งในการปฏิบัติจริงได้มีการปรับลดขั้นตอน ส่วนปัญหาในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด พบว่า คณะทำงานฯขาดความรู้ความเข้าใจการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ตลอดจนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานของผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้น ปัญหาระยะเวลาในการจัดทำแผนที่มีจำกัด และการประชุมเชิงปฏิบัติการจำนวนน้อยครั้ง สำหรับการใช้สารสนเทศในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด พบว่า จังหวัดและหน่วยงานใช้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 กลุ่มได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย กลุ่มเนื้อหาข้อมูลย่อย 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) รายได้ 2) การมีงานทำ 3) เกษตรกรรม4) อุตสาหกรรม 5) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 6) การท่องเที่ยว 7) ผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านสังคม ประกอบด้วย กลุ่มเนื้อหาข้อมูลย่อย 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) ความมั่นคงของครัวเรือน 2) ความปลอดภัยของสังคม 3) การศึกษา 4) สาธารณสุข5) การมีส่วนร่วม 6) โครงสร้างพื้นฐาน และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย กลุ่มเนื้อหาข้อมูลย่อย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) แหล่งนํ้า 2) ป่าไม้ 3) อากาศ และ 4) เสียง รูปแบบของข้อมูล สารสนเทศที่ใช้ส่วนมากเป็นข้อมูลดิบ อยู่ในรูปแบบตารางข้อมูลแผนภาพ แผนภูมิ และการอธิบายภาพ จำนวน ตัวเลข ด้านแหล่งที่มา พบว่าสารสนเทศเรื่องเดียวกันมาจากหลายแหล่งข้อมูล ส่วนปัญหาของการใช้สารสนเทศในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด พบว่า สารสนเทศมีจำนวนไม่เพียงพอ เนื้อหาสารสนเทศเรื่องเดียวกันไม่สอดคล้องตรงกันไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีความเป็นปัจจุบัน และแหล่งที่มาของข้อมูลเรื่องเดียวกันมีความซํ้าซ้อน

คำสำคัญ: แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด; สารสนเทศสำหรับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์

 

Abstract

The quantitative research aims for studying the procedures and problems in order to makea strategic development plan for a target province. They include the information usage and problemsolving regarding the creation of the strategic development plan. The methodologies used in this researchare document analysis and interviews. The group study targets the problems and the proficiency of peoplein the study group who decides the plans/projects of the province’s development plan and its annual officialworking plan. There were 78 people in this group. The research tools are the contemplative form, and thesemi-structured interview.

The findings from the study of making strategic development plans consist of four procedures whichit have been reduced in the actual practice. Regarding the problems of making a strategic developmentplan, it was found that the working group lacks an understanding in strategic management working system,how to make a strategic development plan, and the administrative vision of high, middle and low- levelexecutives. In addition, other problems included time management of the planning process and a lackof properly scheduled workshops. In terms of information usage in the making of strategic developmentplans, it was found that the provincial authorities have limitations in using information in three key areas:economics, social issues, and environmental issues. Economics issues include seven subtitles: 1) income,2) employment, 3) agriculture, 4) manufacturing, 5) GDP of the province, 6) tourism; and 7) OTOP. Socialissues include six subtitles: 1) household stability, 2) social security, 3) education, 4) public health, 5) socialparticipation, and 6) fundamental structure. Environmental issues include: 1) water resource, 2) forestry,3) air, and 4) sound. Most of the information is raw data. Finally, the problems that were encountered in themaking of a strategic development plan included a lack of information, incomplete information, out-of-dateinformation, a lack of variety of sources of information; and a lack of consistent information.

Keywords: Strategic planning; Information for supporting strategic management

Downloads

How to Cite

ทองนาค ส., & กาบมาลา ม. (2013). การใช้สารสนเทศในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ. Journal of Information Science Research and Practice, 28(3), 57–72. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/6193

Issue

Section

Research Article