https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/issue/feed วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ 2023-12-26T02:05:45+07:00 Associate Professor Ann Suwaree Ashton, PhD [email protected] Open Journal Systems วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ Journal of International and Thai Tourism https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/260135 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย "ข้าวไร่กะเหรี่ยง" อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 2023-05-13T11:29:40+07:00 รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ [email protected] ถิรพร แสงพิรุณ [email protected] นพเวช บุญมี [email protected] วรเวชช์ อ่อนน้อม [email protected] ภัทร์อาภรณ์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์ [email protected] นภาพร จันทร์ฉาย [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและวัฒนธรรมข้าวไร่กะเหรี่ยง 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย ข้าวไร่กะเหรี่ยง ใช้วิธีการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมด้วยการใช้ทฤษฎีเชิงพื้นที่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่มกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอโดยการบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ชาวกะเหรี่ยงแห่งหมู่บ้านตะเพินคี่ มีวิถีชีวิตความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับ “ข้าว" สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ในการทำมาหากิน นำมาสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมด้วยภูมิปัญญาการปลูกข้าวเป็นวัฒนธรรมมข้าวไร่กะเหรี่ยงที่ปลอดภัยปราศจากสารเคมี สำหรับพิธีกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเรียกขวัญข้าว ทำบุญข้าวใหม่ ไหว้พระธาตุจุฬามณี เป็นต้น นำไปสู่การท่องเที่ยวตามปฏิทินกิจกรรมข้าวไร่ 12 เดือน จึงเป็นรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วยข้าวไร่กะเหรี่ยง ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ &nbsp;&nbsp;1) การมีส่วนร่วมและกระจายงานแบ่งความรับผิดชอบของชาวกะเหรี่ยง 2) การบริหารจัดการท่องเที่ยว ด้าน ที่พัก ด้านอาหาร ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว ด้านการคมนาคมขนส่งรวมถึงการต้อนรับและจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก และ 3) การอนุรักษ์ข้าวแบบดั้งเดิม</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/260878 แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวแบบไร้รอยต่อจากเส้นทางด่านชายแดนบ้านฮวกสู่สถานีรถไฟทางคู่พะเยาและพื้นที่เชื่อมโยง 2023-05-27T09:35:21+07:00 ปฐมพงษ์ ธิโน [email protected] ประกอบศิริ ภักดีพินิจ [email protected] สุริยา ส้มจันทร์ [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและศึกษาโลจิสติกส์การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวแบบไร้รอยต่อ จากเส้นทางด่านชายแดนบ้านฮวกสู่สถานีรถไฟทางคู่พะเยาและพื้นที่เชื่อมโยง ผลการศึกษา พบว่า มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับโครงข่ายทางถนนที่เชื่อมโยงกับโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย และสนับสนุนการเชื่อมโยงระบบคมนาคมกับ สปป.ลาว และประเทศจีนตอนใต้ การเข้าถึงโดยส่วนใหญ่เป็นถนนผิวจราจรแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต มีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอต่อการให้บริการ การเดินทางภายในพื้นที่มีรถสาธารณะให้บริการแต่พบปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานของพาหนะที่ให้บริการ อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ด้านแนวทางการพัฒนา ควรมีการจัดการการเดินทางเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ โดยการนำแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเดินทางแบบไร้รอยต่อมาปรับใช้ในการพัฒนาโลจิสติกส์การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว เช่น การพัฒนาระบบการจ่ายค่าบริการให้สามารถจ่ายผ่านระบบๆ เดียว และการพัฒนาระบบแอปพลิเคชันที่รวมเอาบริการขนส่งสาธารณะทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/261345 เรื่องเล่าความสำเร็จจากธุรกิจข้างถนนสู่แฟรนไชส์ขึ้นห้างสรรพสินค้าของผู้ประกอบการเครปป้าเฉื่อย 2023-05-13T15:38:15+07:00 บูรณ์พิภพ โพธิ์สิงห์ [email protected] พิทักษ์ ศิริวงศ์ [email protected] <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ เพื่อศึกษาเรื่องเล่าความสำเร็จจากธุรกิจข้างถนนสู่แฟรนไชส์ขึ้นห้างสรรพสินค้าของผู้ประกอบการเครปป้าเฉื่อย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ คุณพรพิมล จีรรัตนบรรพต ผู้ก่อตั้งธุรกิจเครปป้าเฉื่อยและเฟรนไชน์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาการศึกษาประวัติชีวิตและเรื่องเล่า (Life History and Narrative Approach) ผ่านการสัมภาษณ์แบบอัตชีวประวัติ (Life History Interview) ผู้วิจัยใช้วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล ตีความและนำเสนอด้วยการบรรยายแบบเรื่องเล่า</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า เริ่มแรกผู้ประกอบการต้องการหารายได้ทดแทนธุรกิจร้านตัดเสื้อที่ต้องปิดกิจการด้วยความกล้าเสี่ยงแม้จะมีอายุมากแล้ว ฉายาว่าป้าเฉื่อยมาจากความปราณีตและความพิถีพิถันในการทำเครปแต่ละชิ้นที่ใช้เวลานาน โดยหลังจากที่ธุรกิจเครปป้าเฉื่อยมีชื่อเสียงและมีลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการได้มองเห็นช่องทางพัฒนาต่อยอดธุรกิจจึงได้เริ่มต้นพัฒนาสินค้าโดยทำเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ มีแนวทางความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความมุ่งมั่นและความทุ่มเท 2) ด้านการบูรณาการความรู้ 3) ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4) ด้านการเป็นผู้ฟังที่ดี 5) ด้านความสัมพันธ์ 6) ด้านทักษะการแก้ปัญหา และ 7) ด้านการบริหารเวลา</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/261678 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจิตสำนึกทางการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ป่าในเขตภาคเหนือ ประเทศไทย 2023-05-27T09:33:12+07:00 ยุชิตา กันหามิ่ง [email protected] พัจน์พิตตา ศรีสมพงษ์ [email protected] วารัชต์ มัธยมบุรุษ [email protected] ฤทัยภัทร พิมลศร [email protected] <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจิตสำนึกทางการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ป่าในเขตภาคเหนือ ประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), การใช้สถิติ t-test แบบ Independent Sample , การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance) และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)</p> <p>&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจิตสำนึกทางการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ป่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.18) (S.D. = 0.74) โดยด้านการรู้คุณค่าและหวงแหนในทรัพยากรอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.40) (S.D. = 0.63) รองลงมาคือ ด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.38) (S.D. = 0.66) ด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.13) (S.D. = 0.65) และด้านกฎระเบียบข้อบังคับอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.83) (S.D. = 0.92) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (r) ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจิตสำนึกทางการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ป่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/262303 ปัจจัยองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้า กรณีศึกษากลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลี 2023-05-21T15:25:16+07:00 กัญฐณา อุปริพุทธางกูร [email protected] โชคชัย สุเวชวัฒนกูล [email protected] <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้าของกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลี โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลีที่ตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้า จำนวน 125 ตัวอย่าง โดยสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยการทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มด้วยค่า Independent Samples T–Test และ One–Way ANOVA&nbsp;&nbsp;&nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ระดับองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้าของกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลี ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านความสามารถในการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสถานที่พัก และด้านกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน นอกจากนี้การเปรียบเทียบองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้าของกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลี จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลีที่มีอาชีพต่างกันจะมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวด้านสิ่งดึงดูดใจและด้านความสามารถในการเข้าถึงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลจากการศึกษาสามาถนำผลไปประกอบการพิจารณาวางกลยุทธ์นโยบาย หรือกิจกรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงพัฒนาการท่องเที่ยวให้เหมาะสมและสอดคล้องกับนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/260055 The behaviour of long stay foreigners as tourists in Thailand during the COVID-19 pandemic 2023-05-25T16:10:31+07:00 Warach Madhyamapurush [email protected] Chompunuch Jittithavorn [email protected] Timothy Lee [email protected] Nuttharin Pariwongkhuntorn [email protected] <p>This study looks at (1) the travel behaviour of long-term foreigners living in Thailand, and (2) investigates the influence of demographic factors on foreigners’ travel behavior in Thailand. It is quantitative research using a self-administrated and online questionnaire survey of 560 long-stay foreigners in Thailand. Both descriptive and inferential statistics are used to analyze the data. The results are that most respondents in this study have lived in Thailand for more than six years for work purposes. They rent a condominium or serviced apartment. The family members are two-three persons. And they travel once in every four to six months <br />for relaxation and sightseeing. Hypothesis testing shows that these demographic factors have aninfluence on travel behaviour. As a result, tourism authorities and businesses can adopt the results from this study for their marketing plans to help stimulate the tourism activity of foreigners living in Thailand.</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/261276 Factors influencing Café hopper’s choice of cafes in Bangkok using the AHP approach 2023-05-26T10:09:09+07:00 Tila Laohaviraphap [email protected] <p>The objective of this study was to determine the factors that contribute to customer satisfaction in café establishments, focusing on café-hoppers in Bangkok, Thailand. The data was collected through a combination of purposive random sampling and snowball sampling with the sample group being individuals who regularly visit cafes. The results showed that the main factor influencing customer satisfaction is price, with a score of 28.24%. However, when considering the sub-factors, Uniqueness of experiences was found to hold the greatest significance, with a score of 10.60%. This was followed by Impression with a score of 10.43%. The study also found that the sub-factors of Giveaway Promotion and cleanliness play an important role in attracting and delighting customers. The findings of this study highlight the importance of considering unique experiences, creating a lasting impression, and maintaining a clean appearance for café owners to attract and retain customers. Café owners should prioritize these factors in their management strategies to increase customer satisfaction and drive long-term success. The study used the Analytic Hierarchy Process (AHP) method to analyze the data collected from the questionnaire survey.</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023