การจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานหอมแดงเพื่อยกระดับและ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

วรัญญู ทิพย์โพธิ์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันนี้ประชากรไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร เนื่องจากมีพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยหลายประเภทที่สามารถส่งออกทั่วโลกและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร การปลูกหอมแดงนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากอีกหนึ่งประเภทที่นิยมปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษเพราะเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง ประชากรส่วนใหญ่จึงนิยมปลูกหอมแดงเพื่อเป็นรายได้เสริม จากการศึกษาสภาพปัญหาพบว่าเกษตรกรกรณีศึกษาใช้ประสบการณ์โดยไม่ได้มีการวางแผน ทำให้ต้นทุนใน        การปลูกหอมแดงสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาการดำเนินงานให้กับเกษตรกร    ผู้ปลูกหอมแดงในเขตพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้วิจัยได้ประยุกต์ให้แผนผังกิจกรรมกระบวนการและแผนภาพสายธารคุณค่าสำหรับการวิเคราะห์กิจกรรมในโซ่อุปทานหอมแดง ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่าแต่จำเป็นต้องทำ จากนั้นจึงหาสาเหตุของปัญหาด้วยแผนภาพก้างปลา พบว่าเกษตรกรกรณีศึกษาไม่มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการคัดแยกขนาดหอมแดง ทำให้เวลาในการดำเนินงานนานและจำเป็นต้องจ้างคนงานเพื่อ  คัดแยกส่งผลทำให้ต้นทุนการปลูกหอมแดงสูง ดังนั้นผู้วิจัยจึงสร้างถาดคัดแยกขนาดหอมแดงเพื่ออำนวย          ความสะดวกให้แก่เกษตรกรกรณีศึกษา พบว่าหลังการปรับปรุงเวลาลดลง 1,590.27 นาที หรือคิดเป็นร้อยละ 7.46

Article Details

How to Cite
[1]
ทิพย์โพธิ์ ว., “การจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานหอมแดงเพื่อยกระดับและ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 1, น. 99–111, มิ.ย. 2018.
บท
บทความวิจัย
Author Biography

วรัญญู ทิพย์โพธิ์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม   มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

[1] Somboonwiwat T, Singkarin DK. Business processes for supply chain and logistics management. Bangkok: Sunete Film; 2009. (in Thai)
[2] Buakaew N. Introduction to lean manufacturing. Bangkok: Technology Promotion Association (Thailand-Japan); 2004. (in Thai)
[3] Pundee B, Martwanna N. Adoption of shallot production technology for good agricultural practice by farmers in Sisaket province. Khon Kean Agricuture Journal. 2012; 40 Suppl 1: 321-26. (in Thai)
[4] Sunarak T. Production Line Efficiency Improvement: A Case of Stator D Frame Model Production Line. In: Ketsarapong S, editor. IE Network 2012. Proceeding of IE Network Conference 2012; 2012 October 17-19; Methavalai hotel. Phetchaburi: IE Network; 2012. p. 649-54. (in Thai)
[5] Thoucharee S, Pitakaso R. The application using value stream mapping for efficiency increasing logistics and supply chain of rice management in Northeastern area of Thailand. KKU Research Journal. 2012; 5: 687-705. (in Thai)