การพัฒนาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและลดต้นทุนสวนแก้วมังกรของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตแก้วมังกรตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ศักดิ์ทนงค์ วงศ์เจริญ
จริยา พันธา
ประภาพร กิติศรีวรพันธุ์
อัจฉรา เชยเชิงวิทย์
ณัฐภัค พละพันธุ์
ปริญญา ทุมมาลา
อัสนี อำนวย

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบและสร้างระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 3 ประเด็น 1) การออกแบบและสร้างระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ 2) ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ โดยวิเคราะห์ผลจากค่าเฉลี่ย ซึ่งใช้เวลาทดสอบ 10 ชั่วโมง ช่วงเวลา 08.00-17.00 น. และ 3) ประเมินความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ของระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่เทียบกับระบบสูบน้ำแบบเดิม ในการติดตั้ง และการซ่อมบำรุงตลอดการใช้งาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ในการเลือกชุดปั๊มซัมเมอร์สดีซีที่มีกำลังไฟฟ้า 750 วัตต์ มีความต้องการกำลังไฟฟ้าใช้งาน 1,232 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีกำลังไฟฟ้า 1,050 วัตต์ 2) ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ ช่วงเช้าและเย็นประมาณ 336-424.2 วัตต์ แต่ช่วงระยะเวลา 12.00-13.00 น. จะมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงประมาณ 1,016-1,036.8 วัตต์ ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสำหรับระบบสูบน้ำเฉลี่ย 7,280.4 วัตต์-ชั่วโมงต่อวัน อัตราการสูบน้ำเฉลี่ย 27,665.52 ลิตรชั่วโมงต่อวัน และ 3) ความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ในการติดตั้งใช้งานตลอดระยะเวลา 5 ปี ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ต้องใช้เงินลงทุนรวม 100,750 บาท แต่สามารถคืนทุนได้ใน 3 ปี ในขณะที่ระบบสูบน้ำแบบเดิมต้องใช้เงินลงทุน 126,500 บาท และจะต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มต่อเนื่องทุก ๆ ปี หากเทียบที่ 100 เปอร์เซ็นต์จะเห็นได้ว่าระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ใช้เงินลงทุน 44 เปอร์เซ็นต์ และระบบสูบน้ำแบบเดิมจะต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่า 56 เปอร์เซ็นต์

Article Details

How to Cite
[1]
วงศ์เจริญ ศ., “การพัฒนาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและลดต้นทุนสวนแก้วมังกรของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตแก้วมังกรตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 1, น. 165–176, มิ.ย. 2018.
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศักดิ์ทนงค์ วงศ์เจริญ

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

จริยา พันธา

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ประภาพร กิติศรีวรพันธุ์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อัจฉรา เชยเชิงวิทย์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ณัฐภัค พละพันธุ์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ปริญญา ทุมมาลา

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อัสนี อำนวย

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

[1] Wongcharoen S, Panta J, Palaphan N, Toommala P, Kitisrivorapan P, Cheychangwith A, et al. Integrated management for dragon fruit production system optimization of in Koae sub district, Khuang Nai district, Ubon Ratchathani province. In: Tiantong M, Nanthasamroeng N, editors. NCITE 2016. Proceeding of the 2nd National Conference in Industrial Technology and Engineering; 2016 October 19; Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani: Faculty of Industrial Technology, Ubon Ratchathani Rajabhat University; 2016. p.113-23. (in Thai)
[2] Department of Alternative Energy Development and Efficiency. Practical training manual on solar renewable energy. Bangkok: Ministry of Energy; 2016. (in Thai)
[3] Department of Alternative Energy Development and Efficiency. Development and investment in renewable energy production manual series 2 [Internet]. n.d. [cited 2016 July]. Available from: http://www.dede.go.th/article_attach/h_solar.pdf (in Thai)
[4] Rinphon N. A fundamental handbook of solar electric system design. 14th ed. n.p.; 2016. (in Thai)