ประเพณีการเทศน์มหาชาติ

ผู้แต่ง

  • Prasong Rayanasukha Mahachulalongkornrajavidayalaya University

บทคัดย่อ

ประเพณีการเทศน์มหาชาติสันนิษฐานว่ามีมาก่อนสมัยกรุงสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏวรรณกรรม เข้าใจว่าต้นฉบับคงสูญหาย ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีวรรณกรรมเรื่องมหาชาติคาหลวง ในรูปแบบคาประพันธ์หลายชนิด ต่อมามีเรื่องกาพย์มหาชาติซึ่งแต่งเป็นร่ายยาว ถึงยุคปลายกรุงศรีอยุธยามีมหาชาติกลอนเทศน์หลายสานวน เป็นคาประพันธ์ร่ายยาวที่รวบรัดความให้กระชับขึ้น เพื่อให้ผู้ฟังรับฟังเทศน์ได้จบภายในวันเดียวตามความเชื่อว่าจะได้รับอานิสงส์แรง สมัยกรุงธนบุรีมีผู้แต่งมหาชาติเป็นร่ายยาวที่ไพเราะเพียง 2 กัณฑ์ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก มีลักษณะเป็นมหาชาติประยุกต์ ซึ่งพัฒนาไปสู่มหาชาติทรงเครื่อง มหาชาติหางเครื่อง มุ่งให้ผู้ฟังเพลิดเพลินสนุกสนาน โดยได้สารธรรมด้วย
พัฒนาการของประเพณีการเทศน์มหาชาติมีทั้งด้านรูปแบบการแต่งวรรณกรรม รูปแบบการนาเสนอแก่ผู้ฟัง และด้านระเบียบพิธีการปฏิบัติ จึงมีทั้งข้อดีและข้อด้อยคือ ด้านรูปแบบการแต่งวรรณกรรม จัดเป็นข้อดีเพราะทาให้อ่านหรือฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น ส่วนรูปแบบการนาเสนอที่มีการแหล่ประกอบการเทศน์ มีข้อดีที่ทาให้ผู้ฟังไม่ง่วง ไม่เบื่อหน่าย แต่ก็มีข้อด้อย คืออาจนาไปสู่การเพิ่มโลภะ ด้านระเบียบพิธีกรรม ซึ่งมีการจัดสถานที่ เครื่องกัณฑ์เทศน์ และปี่พาทย์บรรเลงเพลงประจากัณฑ์ มีพัฒนาการมาตามลาดับจนถึงปัจจุบัน จัดว่ามีข้อดีคือ ยังคงรักษาธรรมเนียมประเพณีเดิมไว้ได้ อาจปรับเปลี่ยนไปบ้าง เช่นใช้แผ่นซีดีเพลงประจากัณฑ์เทศน์แทนปี่พาทย์เพื่อประหยัดงบประมาณซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-08-2018

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ