ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี Anemia in Pregnant Woman at Nopparatrajathanee Hospital

ผู้แต่ง

  • ศิริฉัตร รองศักดิ์
  • ประนอม พูลพัฒน์
  • มยุรัตน์ รักเกียรติ์

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจาง, สตรีตั้งครรภ์, แรงงานข้ามชาติ, ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย anemia, pregnant women, migrant workers, neonatal low birth weight

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางรวมถึงผลกระทบของภาวะโลหิตจาง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบบันทึกการฝากครรภ์ และการคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 375 ราย

                ผลการวิจัย พบว่า สตรีตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี มีสัญชาติไทยร้อยละ 59.2 และเป็นต่างชาติรวมร้อยละ 40.2 (พม่าร้อยละ 26.4, ลาวร้อยละ 5.1,กัมพูชาร้อยละ 7.2 และอื่นๆ ร้อยละ 2.1) ผลการตรวจเลือดครั้งที่ 1 พบว่ามีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 17.1 (ไทย ร้อยละ 54.7 ต่างชาติ ร้อยละ 45.3) และ การตรวจเลือดครั้งที่ 2 มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ26.9 (ไทย ร้อยละ 57.4, ต่างชาติ ร้อยละ 42.6)สตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 21-34 ปี ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีร้อยละ 10.1การมาฝากครรภ์ครั้งแรกในช่วงไตรมาสแรก ร้อยละ 55.2  ผลการคลอดโดยธรรมชาติ ร้อยละ 63.7 น้ำหนักทารกแรกเกิดมากกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 90.4

                สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง เป็นธาลัสซีเมียอี ร้อยละ 10.9  ธาลัสซีเมียเบต้าร้อยละ 1.6 และธาลัสซีเมีย H disease ร้อยละ 1.6 คลอดก่อนกำหนดร้อยละ 15.6ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 7.8 การหาความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีผลเลือดปกติกับกลุ่มที่มีภาวะโลหิตจาง พบว่ามีความสัมพันธ์กับ ค่า MCV, Hb typingและช่วงอายุที่มีฝากครรภ์ครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.005) 

Abstract

                This research is descriptive study. The purpose of this study was to investigate the anemia situation in pregnant women at antenatal care and delivery in Nopparatthanathani Hospital. The sample consisted of 375 medical records of pregnant women  whogzve birth at NopparatRatchathani Hospital. The data were collected from the ANC registration and the birth registrationforms.

                The results showed that pregnant womenat NoparatRatchathani Hospital. Thai nationality was 59.2% and foreigners 40.2% (Myanmar 26.4%, Laos 5.1%, Cambodia 7.2% and others 2.1%). The first time anemia. 17.1 percent (Thai: 15.8 percent, migrant workers: 19.0 percent) and second time anemia 26.9 percent (26.1 percent in Thai, 28.1 percent in foreigners)    

                Pregnant women under the age of 20 years were 10.1%, the first antenatal clinic in the first quarter, 55.2% (Thai 15.8%, foreigners 19.0%). The mothers who experienced natural  delivery comprised 63.7 percent and 90.4 percent of babies born had a birth weight of more than 2,500 grams. Also found that in the anemia group Thalassemia 10.9% Thalassemia Beta 1.6 percent and Thalassemia H disease 1.6 percent.Newborn birthweight less than 2,500 grams 17.9 percent.Premature birth 16.5% Comparative relationship between normal blood group and anemia group. It was found that there was a correlation between MCV, Hb typing and age of antenatal care. Statistically significant (p <0.005)

Downloads