ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น Effects of Life skills Enhancement Program on Perceived Self-efficacy and Outcome Expectancy to avo

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ พักน้อย
  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • พรนภา หอมสินธุ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ วัยรุ่นหญิงตอนต้น ทักษะชีวิต การรับรู้สมรรถนะแห่งตน sexual risk behaviors, adolescents, life skills, self-efficacy

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ  

   การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 54 คน เป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 คัดเลือกโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมาพัฒนาทักษะชีวิต ซึ่งประกอบด้วย ทักษะด้านการเจรจาต่อรองและทักษะการปฏิเสธเพื่อนต่างเพศ  ด้านความตระหนักรู้และความภาคภูมิใจในตนเองในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ทักษะการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ โดยผ่านกระบวนการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตน จาก 4 แหล่ง จัดกิจกรรมทั้งหมด 5 ครั้ง จำนวน 5 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ต่อเนื่องกัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนเพศศึกษาตามโปรแกรมการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามการเสริมสร้างทักษะชีวิตของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที

             ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (t = 3.6, p< .001 และ t = 3.4, p< .001 ตามลำดับ)  2) ผลการเปรียบค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.4, p< .001, และ t = 5.4, p< .001 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในสมรรถนะของตนเองบนพื้นฐานการมีทักษะชีวิตที่ดี สามารถคาดหวังในผลลัพธ์การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศซึ่งนำไปสู่การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

Abstract                                                                                                                                                                                                                                    This quasi-experimental study aimed to examine effects of life skills enhancement program on perceived self-efficacy and outcome expectancy to avoid sexual risk behaviors among early secondary school female students. The 54 samples were studying in Matthayomsuksa 2at                     Opportunity Expansion School under the office of Sa Kaeo Primary Education Service Area Office 2. The schools were selected by using simple random sampling. There were equally 27 students in the experimental and control groups. The experimental group participated in the life skills enhancement program applied self-efficacy theory. Include negotiation and refusal skills in to the opposite sex self-awareness and self-esteem to avoiding sexual risk behaviors. and decision-making and problem-solving skills when facing sexual risk situations through the process of enhancing self-efficacy from 4 sources, 5 activities, 5 times a week, approximately 1 hour and 40 minutes.The control group learnt sex education according to the learning program of the Ministry of Education. Data were collected using of perceived self-efficacy to avoid sexual risk behaviors questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation and t-test.

             The finding shows that after the experiencing the program, the experiment group had higher level of the perceived self-efficacy and outcome expectancy to avoid sexual risk behavior than before receiving the intervention at statistical significant level of .05. In addition, the experiment group had higher level of the perceived self-efficacy and outcome expectancy to avoid sexual risk behavior to those in control group statistical significant level of .05. The results of this study could be used order to strengthen self-efficacy base on good life skills. There for could expect on outcome expectancy to avoid sexual risk behavior which prevent unwanted pregnancy. 

Downloads