ผลของการส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน Effects of Knowledge, Attitude and Practical Skills Related to Promoting Breastfeeding Program among Village Health Volunt

ผู้แต่ง

  • ชฎารัตน์ แก้วเวียงเดช
  • พัดชา หิรัญวัฒนกุล
  • สมเสาวนุช จมูศรี

คำสำคัญ:

ความรู้ ทัศนคติ ทักษะการปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน knowledge attitude practical skills promoting breastfeeding village health volunteer

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานด้านสาธารณสุขชุมชนของประเทศ รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับมารดาหลังคลอด การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมความรู้ ทัศนคติและทักษะปฏิบัติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 35 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ก่อนและหลังการเข้าร่วมการอบรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหลังการเข้าอบรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สูงกว่าก่อนการเข้าอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000, 95% CI (-2.08) – (-0.66)) และ(p = .000, 95% CI (-7.46) – (-4.08)) ตามลำดับ  ส่วนคะแนนเฉลี่ยทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านระหว่างก่อนและหลังการเข้าอบรม
ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.932, 95% CI (-1.92) – 2.10)

จากผลการวิจัย มีข้อเสนอแนะว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านควรได้รับการอบรมความรู้ และฝึกทักษะ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความชำนาญและการปฏิบัติที่ถูกต้อง และเป็นการเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้นโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบผลสำเร็จและยั่งยืน

 

Abstract

Village health volunteer is a person who plays an important role in supporting public health policies in the community including promoting breastfeeding program for postpartum. This quasi-experimental study aims to study effects of knowledge, attitude and practical skills related to promoting breastfeeding program among village health volunteers. The sample was the village health volunteers in the area of health promotion hospital Laopordang Sub-district, Mueng, Sakon Nakhon Province. A sample of 35 was recruited using purposive sampling. Data were conducted using a questionnaire at before and after participation in the promoting breastfeeding program.

The results revealed that the mean scores of knowledge and practical skills related to promoting breastfeeding among village health volunteers after participation in the program were found to be significantly higher than before participation in the program (p = .000, 95% CI (-2.08) – (-0.66)) and (p = .000, 95% CI (-7.46) – (-4.08)) respectively. However, scores of attitudes towards promoting breastfeeding at before and after participation in the program were found to be not significantly differences (p = 0.932, 95% CI (-1.92) – 2.10).

Based on the result, a training course for village health volunteers on breastfeeding promotion should be provided on a regularly basis as to increase and maintain their breastfeeding knowledge and skills as well as to develop a positive attitude toward breastfeeding promotion. This could result in a successful and sustainable of breastfeeding policy.

Downloads