ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน ในกลุ่มคนงาน โรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จังหวัดสุพรรณบุรี Factors Associated with Hearing Loss among Workers in Auto Part Manufacturing Industry in Suphanburi province

ผู้แต่ง

  • จิราพร ประกายรุ้งทอง
  • สุวัฒนา เกิดม่วง

คำสำคัญ:

การสูญเสียการได้ยิน การเฝ้าระวังสุขภาพ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ noise-induced hearing loss, health surveillance, auto part manufacturing industry

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การสูญเสียการได้ยินจากการประกอบอาชีพมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางที่พัฒนาจากงานประจำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการสูญเสียการได้ยินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูญเสียการได้ยินจากการประกอบอาชีพ ในกลุ่มคนงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 1 แห่งในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 78 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านงาน ซึ่งประยุกต์จากแนวคิดด้านอาชีวอนามัย มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อมากกว่า .80 และการตรวจร่างกายโดยการตรวจพยาธิสภาพหูและการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยลอจีสติก (Logistic regression)

ผลการศึกษา พบว่า มีคนงานที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์มีการสูญเสียการได้ยินจำนวน 15 คน (ร้อยละ19.2) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูญเสียการได้ยินจากการประกอบอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  ได้แก่ ประวัติการเจ็บป่วย/ โรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน5.82) ลักษณะงานที่ทำปัจจุบัน (OR = 12.00, 95%CI = 3.27 – 43.93) ระยะเวลาการทำงาน (OR = 4.58, 95%CI = 1.31 – 16.01) และประวัติการทำงานสัมผัสเสียงดัง (OR = 6.72, 95%CI = 1.39 – 32.44) ผลจากการศึกษาสามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางเพื่อการป้องกัน การตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสุขภาพในกลุ่มคนงานที่ต้องสัมผัสกับเสียงดังในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนงานที่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน และมีระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน 

Abstract

                Noise-induced hearing loss is an occupational disease which is increasingly reported in Thailand. This cross-sectional survey research which develops from occupational health service routine works aimed to study noise-induced hearing loss incidence and factors associated with hearing loss among workers in the auto part manufacturing industry in Suphanburi province. A purposive sample 78 workers from an auto part manufacturing factory in Muang district, Suphanburi province was recruited in the study.  Data were collected by questionnaires and audiometry. Descriptive statistic and logistic regression analysis were used for data analysis. 

                The study revealed that 15 workers (19.2%) were diagnosed with noise-induced hearing loss by an occupational physician. Factors that were significantly associated with noise-induced hearing loss included personal illness related with hearing diseases (OR = 1.05, 95%CI = 2.69-5.82), current work (noise exposure) (OR = 12.00, 95%CI = 3.27 – 43.93), years of work (OR = 4.58, 95%CI = 1.31 – 16.01), and noise exposure history at work (OR = 6.72, 95%CI = 1.39 – 32.44).

The results of this study could be used to guide interventions to prevent and screen for noise-induced hearing loss among workers who expose to noise in Thailand especially in workers with hearing illnesses and long years of work. 

Downloads