ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดพะเยา FactorsInfluencingPerformance of Incharge Nurses inGeneral Hospital, Phayao

ผู้แต่ง

  • เปรมฤดี ศรีวิชัย
  • พินทอง ปินใจ

คำสำคัญ:

ทักษะในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม วุฒิภาวะทางอารมณ์ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพยาบาลหัวหน้าเวร communication skills, teamwork, emotional quotient, performance, incharge nurses

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ในเชิงทำนาย เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลหัวหน้าเวรโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดพะเยาได้แก่1) ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย การรับรู้บทบาทความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง  ทักษะในการสื่อสาร  ผูกพันต่อองค์กร วุฒิภาวะทางอารมณ์ พอใจในงาน และ2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน การทำงานเป็นทีม

กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปจังหวัดพะเยาจำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยภายนอก ตอนที่ 3 แบบสอบถามประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามดังนี้ การรับรู้บทบาท ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง ทักษะในการสื่อสารความผูกพันต่อองค์กร วุฒิภาวะทางอารมณ์ ความพึงพอใจในงาน  สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน การทำงานเป็นทีม และประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เท่ากับ 0.88,0.85,0.81, 0.88, 0.92, 0.82, 0.92, 0.98 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน

               ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลทั่วไปจังหวัดพะเยาอยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระดับสูง ได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม วุฒิภาวะทางอารมณ์ (r=0.70 and r=0.64, r=0.63 respectively).และ3) ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลหัวหน้าเวรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม วุฒิภาวะทางอารมณ์ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 59.1 โดยทักษะการสื่อสารมีอำนาจการทำนายได้สูงสุด

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ทักษะในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลหัวหน้าเวร ผู้บริหารควรพัฒนาปัจจัยเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น

Abstract

                This predictive correlational research aimed to study performance and investigate factors influencing performance of in charge nurses at the general hospital, Phayao were: 1) personal factors: role, confliction, communication skills, attachment, emotional quotient, and job satisfaction; 2) external factors: working environment and  team working.

                The subjects consisted of 203 incharge nurses at general hospital, Phayao.The research tools used for collecting the data were questionnaires comprising 2sections:1)personalfactors,2)externalfactors,3) performance.The internal consistency Cronbach alpha coefficients of role, confliction, communication skills, attachment, emotional quotient, job satisfaction, working environment, team working and performance were 0.88, 0.85, 0.81, 0.88, 0.92, 0.82, 0.92, 0.98 and0.92 respectively.Research data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis.

             Study results were as follows; 1) The performance by incharge nurses at the general hospital, Phayao, was at high level ( =4.06, s.d.=0.60). 2) The factors were correlated to the performance at the high level were: communication skill, team work, emotional quotient  (r=0.70 and r=0.64, r=0.63 respectively). Finally, 3) the factors which influenced their performance were communication skill, teamwork, emotional quotient.These predictors accounted for 59.1 %.

           Suggestions from this study focus on communication skills, team working and emotional quotient influenced their performance of incharge nurses. Management should develop these factors tangibly and consistently to improve the performance of the work better.

Downloads