การพัฒนาบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนทอง Development of age-friendly health services for older persons at outpatient department of phontong hospital.

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ยุคะลัง
  • ประสบสุข ศรีแสนปาง

คำสำคัญ:

บริการสุขภาพที่เอื้ออาทร ผู้สูงอายุ age-friendly health services, older person

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

         การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนทอง โดยใช้แนวคิดระบบบริการพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุโมเดลมหาวิทยาลัยขอนแก่น   ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 1 คน พยาบาล 5 คน เภสัชกร 1 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้  1 คน  ประชาสัมพันธ์ 1 คน พนักงานเปล 1 คน รวม 10 คน และผู้ให้ข้อมูลหลัก 36 คน  ประกอบด้วยผู้สูงอายุ ผู้ดูแล และ จิตอาสา ระยะเวลาในการทำวิจัยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2557 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 กระบวนการวิจัยมี 3 ระยะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า การบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ ในหน่วยงานผู้ป่วยนอก มี 6 องค์ประกอบคือ                  1)  การแสดงออกถึงความเคารพ ให้เกียรติ ห่วงใย และใส่ใจบริการ 2) ความเข้าใจและตระหนักในความสูงอายุ 3) ความรวดเร็วในการให้บริการ 4) การจัดบริการที่เฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ 5) การให้บริการใกล้บ้าน และ 6) สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยเหมาะสมกับผู้สูงอายุ  เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์การให้บริการของบุคลากรทีมสุขภาพ พบปัญหาในการให้บริการดังนี้  1) บุคลากรบางส่วนยังไม่ได้รับการฝึกอบรมความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ 2) ภาระงานมาก มุ่งเน้นการให้การรักษาโรคเป็นสำคัญ ระบบบริการยังคงใช้มาตรฐานเดียวกันกับทุกวัย 3) ข้อจำกัดของสถานที่ทำให้ยังไม่สามารถจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุได้ และ             4) สิ่งแวดล้อมบางส่วนไม่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ข้อมูลที่ได้นำไปสู่กระบวนการพัฒนาก่อให้เกิดการบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) การสร้างความตระหนักถึงการบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ  2) การพัฒนาระบบบริการที่เฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 

  Abstract

                The purpose of this action research was to develop age-friendly health services for older persons at outpatient department, Phontong hospital. Age-Friendly Nursing Service System: KKU Model was used as a framework of the study. There were 10 participants included: 1family medicine,5 nurses, 1 pharmacist, 1nurse aid, 1 public relation, 1 patient transfer staff; and 36 key informants including older persons, their care givers and volunteers worker in hospital. Data were collected during March 2014 to February 2015 by a focus group discussion, interview and participatory observation, 3 phases of study. Qualitative data were analyzed using content analysis.

The findings: 6 component of age-friendly health services needed included 1) respect, caring and attention  2) understanding and awareness of older 3) fast services 4) specialized service for older persons 5) home health service and     6) convenience and safety environment. The situation services were analyzed: a problem of provider included 1) skills and knowledges of older person care for staffs, 2) hard workload, focusing disease, and service all age, 3) limited of place for established a geriatric clinic, and 4) safe environment for older person. These findings led to the process of three phases to develop age-friendly health services: 1) promote age-friendly awareness 2) develop age-friendly health services 3) improve the environment.

Downloads