กลวิธีการป้องกันโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน Diabetes Prevention Strategies by Community Participation

ผู้แต่ง

  • เกษฎาภรณ์ นาขะมิน
  • วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์
  • เพชรไสว ลิ้มตระกูล

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

Diabetes mellitus is one of noncommunicable chronic diseases which are able to prevented through behavioral modification. To reduce risk factors of this disease, community participation is the affective strategy to implement. and throughout behavioral changing to reduce the risk of life that can be solved by participation of the community in term of thinking to find solutions.

The study composed of two phases. Phase 1 aimed to explore the health care management phenomena of people who risk to diabetes mellitus in terms of the context of diary living, related factors, impact problems and difficulties of managing health care to prevent diabetes by self, family and community. Data were collected from 20 risk people,   six health volunteers, five community leaders, two and five family member of the risk people Phase 2 aimed  to develop the  strategies for preventing diabetes mellitus.

The results showed that health care management of the risk people in order to prevent diabetes mellitus include: 1)  diet control by not eating something or reduce the amount of foods;  2) Weight control by diet control, exercise and often weigh themselves; 3)  Exercise by doing physical activities;  4) appropriate stress management;  5) Drinking alcohol only in religious ceremony and after work; 6) people who smoke had tried not to disturb other people, and  7) doing annual diabetes screening . Risk  people’ families   cared  risk people by  helping their task,  exercising with them, and controlling their health behaviors . Communitymanaged care for risk people through health volunteers who adviced health care related to diet control,  exercise, stress management, quit  drinking alcohol and smoking, and having annual diabetes screening.

Health care management to prevent diabetes was the perception of the horror of diabetes and a group of people or organizations that promote perception of healthy as the result. Access to diabetes screening, diet control, and exercise in terms of no place, lack of leaders, motivation, and regularity were found as the problems

Diabetes prevention strategies include 1) increase rate of diabetes screening; 2) health care provider give advices according to people’ risks; 3) ;develop health record book for risk people; 4) Organized a workshop to modify risk behaviors; 5) Select good model people in  reducing risk behaviors; 6) normally provide public advertisement and   activities to prevent diabetes;  7) Reflect  health information of people in the community, and 8) Adjust the appropriate environment in the community.

 

โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตจะเกิดขึ้นมาได้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคิดหาทางแก้ไขปัญหา

การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและหากลวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน ซึ่งแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสถานการณ์การจัดการดูแลสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในบริบทของวิถีชีวิตปัจจุบัน ปัจจัย เงื่อนไข ผลกระทบ ปัญหาและอุปสรรคการจัดการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานโดยตนเอง ครอบครัว และชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเสี่ยงจำนวน 20 คน อสม. จำนวน 6 คน ผู้นำชุมชนจำนวน 5 คน ผู้ให้บริการสุขภาพ 2 คน สมาชิกในครอบครัวกลุ่มเสี่ยง 5 คน ระยะที่ 2 เป็นการวิเคราะห์หากลวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีการจัดการดูแลสุขภาพตนเองดังนี้ 1) การควบคุมอาหารโดยการควบคุมดังกล่าวประกอบด้วย การงดรับประทานอาหารบางอย่าง หรือรับประทานให้น้อยลง 2) ควบคุมน้ำหนักตัวโดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และประเมินผลโดยการชั่งน้ำหนักตัวอย่างสม่ำเสมอ 3) มีการออกกำลังกายแต่ไม่เป็นแบบแผน กิจกรรมทางกายส่วนใหญ่เป็นการทำงาน 4) มีความเครียดแต่สามารถจัดการได้ ไม่มีความเครียดเรื้อรัง 5) กลุ่มเสี่ยงบางส่วนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลงานบุญ และหลังเลิกงาน 6) กลุ่มเสี่ยง 2 คนสูบบุหรี่มากกว่า 10 ปี เลิกสูบไม่ได้ แต่พยายามไม่ให้ควันบุหรี่รบกวนคนอื่น 7) ไปตรวจคัดกรองเบาหวานเป็นประจำทุกปี ครอบครัวกลุ่มเสี่ยงมีการจัดการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโดยการแบ่งเบาภาระงาน ร่วมออกกำลังกาย กระตุ้นและบอกกล่าวเมื่อกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่เหมาะสม ชุมชนมีการจัดการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโดย อสม. จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การควบคุมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายที่หลากหลาย วิธีการจัดการความเครียด การลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ การเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานประจำปี การจัดการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานมีปัจจัย เงื่อนไขจากการรับรู้ถึงความน่ากลัวของโรคเบาหวานและการมีกลุ่มบุคคลหรือองค์กรให้การส่งเสริมและสนับสนุน กลุ่มเสี่ยงรับรู้ถึงผลของการจัดการดูแลสุขภาพคือทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย จิตใจร่าเริงไม่มีความกังวลว่าตนเองจะเป็นโรคเบาหวาน ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือการให้บริการตรวจคัดกรองเบาหวานที่ไม่สามารถเข้าถึงทุกกลุ่มได้ การรับประทานอาหารที่ปฏิบัติได้น้อย และการออกกำลังกายที่ขาดสถานที่ที่เหมาะสม ขาดผู้นำออกกำลังกาย ขาดแรงจูงใจ และขาดความต่อเนื่อง

กลวิธีการป้องกันโรคเบาหวานจากการวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการประชุมระดมสมอง 2 ครั้ง คือ1) การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวานให้ได้มากขึ้น 2) ผู้ให้บริการสุขภาพสร้างแนวทางการให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวตามความเสี่ยง 3) ผู้ให้บริการสุขภาพจัดทำสมุดบันทึกทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 4) ผู้ให้บริการสุขภาพจัดอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 5) คัดเลือกบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 6) ผู้ให้บริการสุขภาพร่วมกับ อสม.ประชาสัมพันธ์และรณรงค์กิจกรรมป้องกันเบาหวานอย่างต่อเนื่อง 7) ผู้ให้บริการสุขภาพสะท้อนข้อมูลสุขภาพของประชาชนในชุมชน  8) ชุมชนร่วมกันปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนให้เหมาะสม

 

Downloads