ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่าย ต่อความรู้ ความวิตกกังวล และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (Effects of Preparatory Information Intervention on Knowledge, Anxiety, and Self-Care Practice among Patients Underwent Coronary Artery Bypass Graft Surgery)

ผู้แต่ง

  • Yupin Sanckamanee
  • Wasana Ruisungnoen

คำสำคัญ:

ข้อมูลเตรียมความพร้อม ความรู้ ความวิตกกังวล การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ preparatory information, knowledge, anxiety, and post-CABG self-care practice

บทคัดย่อ

This quasi-experimental study aimed to investigate the effects of preparatory information intervention on knowledge, anxiety, and self-care practice at home among a group of patients who underwent coronary artery bypass graft (CABG) surgery. Leventhal & Johnson’s Self-regulation theory was used as a conceptual framework. Sample was selected from patients who met inclusionary criteria and were admitted for the first CABG surgery at Srinagarind Hospital and Queen Sirikit Heart Center in Khon Kaen province. The study was conducted during November 2010 to April 2011 in which 34 patients volunteered to participate in the intervention. There were 17 subjects in both control and intervention groups that were allocated to the group using paired-match method. The control group received usual post-CABG care whereas those in the intervention group received preparatory information regarding post-operative care based on Self-regulation theory via video media. The intervention consisted of 2 consecutive video instruction sessions. The content in the video was rated for item relevance by a group of experts in which a content validity index of 0.75 was obtained. The instruments for data collection were personal data form, knowledge assessment questionnaire, anxiety assessment questionnaire, and post operative home self-care questionnaire. Descriptive data were analyzed in frequency, percentage, and means values. A comparison of outcome difference within the group was analyzed by the paired t-test while independent t-test was used for a comparison of difference between groups.

Findings from this study showed that there was a significantly higher post-test than pre-test average knowledge score in the intervention group on the discharge day at p<0.05. However, there was no difference in average knowledge score between control and intervention groups.  Regarding anxiety on the discharge day, there was a significantly lower average score post-test than pre-test at p<0.05. Similarly to knowledge, there was no difference on anxiety between control and intervention group. On the follow-up day, there was no difference of average self-care practice scores between the groups.  In conclusion, this study demonstrates no difference between experiment and control groups on anxiety and self-care practice, which can be explained by contamination knowledge from other sources given to the control group, circumstances in which anxiety was measured differed from the theory, and use of self-report measurement for self-care practice.  Therefore, study should be replicated in the larger sample with careful control of extraneous factors and include other type of behavior measurement.

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่าย ต่อความรู้ ความวิตกกังวล และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการปรับตนเอง ของ Leventhal และ Johnson กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจ เป็นครั้งแรก จำนวน 34 คน ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์และศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงเมษายน 2554 ผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันได้รับการจับคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 17 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลและคำแนะนำหลังผ่าตัดตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมเพื่อการดูแลตนเองหลังผ่าตัดผ่านสื่อวีดิทัศน์ 2 ครั้งๆละ 17 นาทีและ 15 นาที ตามลำดับ โดยข้อมูลที่ให้มีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน พัฒนาขึ้นตามทฤษฎีการปรับตนเอง และได้รับการประเมินความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบดัชนีความตรงทางเนื้อหาได้ 0.75 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย  แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้สำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ แบบวัดความวิตกกังวล และแบบวัดการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย  ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่มใช้สถิติ Paired t-test และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มภายหลังการทดลองใช้สถิติ Independent t-test

ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้ในกลุ่มทดลองหลังการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในวันจำหน่ายมากกว่าก่อนให้ข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P < 0.05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยของความรู้หลังให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในวันจำหน่ายไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในกลุ่มทดลองน้อยกว่าก่อนให้ข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05 แต่ไม่พบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลและคะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติตัวระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งอาจเป็นผลจากการที่ กลุ่มควบคุมได้รับข้อมูลจากแหล่งอื่นที่ส่งเสริมการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่บ้าน หรือสถานการณ์ขณะวัดความวิตกกังวลไม่เป็นสถานการณ์ที่ผู้ป่วยรับรู้ว่าเป็นสถานการณ์คุกคามตามทฤษฎี และการเลือกใช้แบบวัดการปฏิบัติตัวแบบเลือกตอบเอง ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาซ้ำโดยเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างและการควบคุมตัวแปรอื่นที่อาจมีผลการวิจัย และใช้แบบวัดชนิดอื่นๆร่วมด้วยในการวัดพฤติกรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-05-09